องุ่นป่า
  ชื่อสามัญภาษาไทยองุ่นป่า
  ชื่อที่เกี่ยวข้องเถาเปรี้ยว
  ชื่อวิทยาศาสตร์Ampelocissus martinii Planch.
  ชื่อวงศ์Vitaceae
  ชื่อท้องถิ่นเครืออีโกย (อีสาน) กุ่ย (อุบล) เถาวัลย์ขน (ราชบุรี) ส้มกุ้ง (ประจวบฯ) ตะเปียงจู องุ่นป่า อีโก่ย (สุรินทร์)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

องุ่นป่าเป็นไม้เลื้อยล้มลุก หลายฤดู ลำต้น ไม่มีเนื้อไม้ 

ใบ เดี่ยวรูปหัวใจเว้าลึกเป็น 5 พู ผิว ใบอ่อนมีขน เป็นเส้นใยแมงมุมปกคลุม มีขนอ่อนสีชมพูที่มีต่อมแซม (glandularhair) ขอบใบหยักฟันเลื่อย 

ดอก ออกเป็นช่อแบบพานิเคิล (panicle) ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีชมพูอ่อน กลีบดอก 4 กลีบ

สรรพคุณทั่วไป

  • ยาพื้นบ้านอีสานใช้ รากฝนดื่มแก้ไข้ ผสมลำต้นหรือรากรสสุคนธ์ เหง้าสับปะรด ลำต้นไผ่ป่า ลำต้นไผ่ตง งวงตาล เปลือกต้นสะแกแสง ลำต้นหรือรากเถาคันขาว ผลมะพร้าว ลำต้นรักดำ ลำต้นก้อม ลำต้นโพ หญ้างวงช้างทั้งต้น รากกระตังบาย เปลือกต้นมะม่วง ลำต้นหนามพรม รากลำเจียก ลำต้นอ้อยแดง ลำต้นเครือพลูช้าง เหง้าหัวยาข้าวเย็นโคก และเปลือกต้นกัดลิ้น ต้มน้ำดื่ม รักษาฝีแก้อาการบวม

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://sites.google.com/site/krupiyasr2/bak-xi-ko-y-xngun-pa