มะขามเทศ
  ชื่อสามัญภาษาไทยมะขามเทศ
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษManila Tamarind, Manila tamarind
  ชื่อวิทยาศาสตร์Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นมะขามข้อง (แพร่)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะขามเทศจัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง ไม้ผลัดใบ มีอายุนานหลายปี ลำต้นสูงได้ถึง 15เมตร กิ่งมักจะแตกออกมากในระดับต่ำ ลำต้นค่อนข้างกลมเปลือกเรียบ เปลือกมีสีเทาแกมขาว หรือเทาดำเป็นร่องเล็ก ตามลำต้น และกิ่งมีหนามแหลมคม ในตำแหน่งรอยก้านใบ 

ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับ แบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมนขอบใบเรียบ ขอบใบ 2 ข้างโค้งไม่เท่ากัน ผิวใบมีสีเขียวลักษณะเรียบถึงมีขนเล็กน้อย ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุม โคนก้านใบมีหูใบคล้ายหนาม โดยจะแทงออกบริเวณหนามของกิ่ง 

ดอกออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ที่บริเวณข้อติดกับก้านใบ และปลายกิ่ง โดยช่อดอกจะยาวได้ถึง 10 ซม. ส่วนก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. มีขนละเอียดปกคลุม ดอกย่อยสมบูรณ์เพศรวมเป็นกลุ่ม 15-20 ดอกในแต่ละช่อย่อย ในแต่ละดอกย่อยจะมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวแกมขาว ติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเชื่อม ติดกันเป็นหลอด เกสรเพศเมีย 1 อัน 

ผลมะขามเทศ มีลักษณะเป็นฝักค่อนข้างแบนถึงทรงกระบอกมีรอยคอดตามแนวสัน และเปลือกนูนตามจำนวนเมล็ด ผลขดเป็นวงหรือเป็นเกลียวกว้าง 1-2 ซม. ยาว 5-15 ซม. ฝักอ่อนมีสีเขียว และเมื่อแก่จัดจะมีสีชมพูหรือสีแดง โดยในแต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 2-10 เมล็ด เมล็ดมะขามเทศมีลักษณะแบน และนูนตรงกลาง มีรูปทรงคล้ายหยดน้ำ ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ยาว 9 มิลลิเมตร หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เมื่อฝักแก่ เมล็ดจะมีสีดำ

สรรพคุณทั่วไป

  • เป็นยาระบาย
  • ช่วยรักษาบาดแผล
  • แก้พิษแมลงป่อง
  • ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องผูก
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม
  • ช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
  • ช่วยแก้ไอ
  • ช่วยขับเสมหะในลำไส้
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยสมานแผลห้ามเลือด
  • รักษาโรคปากเปื่อยหรือโรคปากนกกระจอก 
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
  • ช่วยในการเจริญเติบโต
  • ช่วยในการป้องกันอาการอ่อนเพลีย
  • รักษาโรคโลหิตจางช่วย
  • ป้องกันฟันผุ
  • แก้ปวดฟัน
  • แก้ปากเปื่อย แผลในปาก
  • แก้ท้องร่วง
  • แก้อาเจียน

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้แก้ไอ  ขับเสมหะ ถ่ายพยาธิ แก้ท้องผูก  บำรุงประสาทและสมอง  บำรุงผม  เล็บและฟัน แก้ปากนกกระจอก ขับเสมหะในลำไส้ ลดคลอเรสเตอรอล  โดยรับประทานเนื้อผลสุกของมะขามเทศเป็นประจำ  
  • ใช้แก้ท้องเสีย ท้องร่วง  แก้อาเจียน  โดยใช้เปลือกต้น นำมาต้มกับน้ำดื่ม 
  • ขับโลหิตและน้ำเหลือง โดยนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม 
  • ใช้ขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก โดยใช้เมล็ดแก้มาคั่วกะเทาะเปลือกกิน  
  • ใช้แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาการอาหารไม่ย่อย โดยใช้ใบมากินกันเกลือ  
  • แก้โรคปากเปื่อยหรือโรคปาก โดยนำเปลือกต้นมะขามเทศมาแล้วขูด  เปลือกชั้นนอกออก เหลือแต่เปลือกชั้นในประมาณ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำใส่เกลือป่น 1 ช้อนชา รอจนน้ำอุ่นแล้วนำมาอมหลังจากแปรงฟันทุกครั้ง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะขามเทศ, มะขาม ฯ  ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 144
  2. ฤทธิ์ฆ่าพยาธิตืดแคระจากผลมะขามเทศ.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  3. กิตติศักดิ์ แคล้ว จันทร์สุข.รายงานการวิจัยเรื่องข้อกำหนดทางเภสัชเวทและการประเทศฤทธิ์ทางชีวภาพของตำรับยาตรีธารทิพย์.วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.55 หน้า
  4. มะขามเทศ สรรพคุณและการปลูกมะขามเทศ.พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com