ชะมวง
  ชื่อสามัญภาษาไทยชะมวง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCowa
  ชื่อวิทยาศาสตร์Garcinia cowa Roxb. ex Choisy
  ชื่อวงศ์Clusiaceae
  ชื่อท้องถิ่นส้มป้อง มะป่อง (คนเมือง), หมากโมก (อุดรธานี), มวงส้ม (นครศรีธรรมราช), กะมวง มวง ส้มมวง (ภาคใต้), กานิ (มลายู-นราธิวาส), ตระมูง (เขมร), ยอดมวง, ส้มม่วง, ส้มโมง, ส้มป่อง
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ชะมวงเป็นพืชท้องถิ่น เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงปานกลาง สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด การปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ ลักษณะของต้นชะมวง มีดังนี้

    ลำต้น ลักษณะของต้นชะมวง จะเป็นทรงพุ่มคล้ายกรวยคว่ำ ความสูงของต้นชะมวงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของชะมวงจะเกลี้ยง แตกกิ่งก้านใบตอนบนของลำต้น เปลือกของชะมวงจะเป็นสีดำออกน้ำตาล มีลักษณะขรุขระ เป็นสะเก็ด แต่เปลือกด้านในจะมีสีขมพูออกแดง มีน้ำยางออกบริเวณเปลือก

    ใบของชะมวง เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว รูปรี ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ใบอ่อนของชะมวงจะมี สีเขียวอ่อน ส่วนใบแก่จะมีสีเขียวเข้ม

    ดอกของชะมวง จะออกดอกตามซอกใบและกิ่ง ดอกจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผลของชะมวง จะเป็นทรงกลม ผิวเรียบและมัน ผลอ่อนจะมีสีเขียวและผลสุกจะมีสีเหลือง ผลสุกจะมีรสเปรี้ยว สามารถทานได้

สรรพคุณทั่วไป

  • ผลอ่อนของชะมวง สามารถนำมาใช้ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยฟอกโลหิต เป็นยาระบาย
  • ผลแก่ของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ
  • รากของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไข้ แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้เสมหะ ช่วยแก้บิด
  • ดอกของชะมวงสามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยแก้เสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยแก้ดีพิการ
  • ใบของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยฟอกโลหิต แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ เป็นยาระบาย เป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • เนื้อไม้ของชะมวง สามารถนำมาใช้ ยาระบาย แก้อาการเหน็บชา

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “ชะมวง (Cha Muang)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้าที่ 101.
  2. การสำรวจความหลากหลายของพืชสมุนไพร จากตลาดพื้นเมืองทางภาคตะวันตกของประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “ชะมวง”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: pirun.kps.ku.ac.th/~b4816187/.  [13 ม.ค. 2014].
  3. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน).  “ชะมวง”.  อ้างอิงใน: หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th.  [13 ม.ค. 2014].
  4. สมุนไพรไทย-ภูมิปัญญาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร.  “สมุนไพรไทยชะมวง”.  (วชิราภรณ์ ทัพผา).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/46313433/Thaiherb/.  [13 ม.ค. 2014].
  5. พืชและสัตว์ท้องถิ่นภูพาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.  “ชะมวง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: pineapple-eyes.snru.ac.th/animal/pupan.  [13 ม.ค. 2014].
  6. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).  “ชะมวง”.  (อนงค์นาฏ ศรีบุญแก้ว).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th.  [13 ม.ค. 2014].
  7. บ้านทองเลี้ยงฟ้า จังหวัดอุดรธานี.  “การปลูกชะมวงไร้สารพิษ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.pkms9.com/TLP02.html.  [13 ม.ค. 2014].
  8. พรรณไม้สวนรุกขชาติห้างฉัตร.  “ชะมวง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: lampang.dnp.go.th/Departments/Techical_Group/Hangchat_Arboretum/knowledge/plant/ชะมวง.pdf.  [13 ม.ค. 2014].
  9. โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก.  “ชะมวง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.lrp.ac.th.  [13 ม.ค. 2014].
  10. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร.  “ชะมวง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable.  [13 ม.ค. 2014].
  11. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “ชะมวง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [13 ม.ค. 2014].
  12. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวารินชำราบ สพม. เขต 29.  “ชะมวง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: ict2.warin.ac.th/botany.  [13 ม.ค. 2014].
  13. อุตสาหกรรมรวมใจภักดิ์ ปลูกต้นไม้ฟื้นผืนดิน.  “ต้นชะมวง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.treeforthai.com.  [13 ม.ค. 2014].
  14. ศูนย์ข้อมูลการแพทย์ทางเลือก.  “องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ลดไขมันของใบชะมวง”.  (ดวงเพ็ญ ปัทมดิลก), สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: thaicamdb.info.  [13 ม.ค. 2014].
  15. กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 กุมภาพันธ์.  “เภสัช ม.อ. ค้นพบใบชะมวงต้านมะเร็ง”.  (รศ.ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ ผู้อำนวยการสถานวิจัยยาสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.bangkokbiznews.com.  [13 ม.ค. 2014].
  16. โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  “ชะมวง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com.  [7 ม.ค. 2014].