|
ชื่อสามัญภาษาไทย | ตะแบก |
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ | Bungor |
ชื่อที่เกี่ยวข้อง | กระแบก (สงขลา), ตราแบกปรี้ (เขมร), ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด), ตะแบกนา ตะแบก (ภาคกลาง, นครราชสีมา), เปื๋อยนา (ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง (แพร่) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Lagerstroemia calyculata Kurz |
ชื่อวงศ์ | Lythraceae |
ชื่อท้องถิ่น | แลนไห้ (เชียงใหม่), ตะแบกขาวใหญ่ (ปราจีนบุรี), ตะแบกใหญ่ (ราชบุรี, นครราชสีมา), เปลือยดง (นครราชสีมา), ตะแบกหนัง (จันทบุรี), เปลือย (สุโขทัย, พิษณุโลก), ตะแบกแดง (ประจวบคีรีขันธ์), อ้าย (สุราษฎร์ธานี), ป๋วย เปื๋อย เปื๋อยขาว เปื๋อยตุ้ย เปื๋อยค่าง เปื๋อยน้ำ เปื๋อยลั้วะ เปื๋อยเปลือกหนา (ภาคเหนือ), เปือย (ลานช้าง), ตะแบก ตะแบกใหญ่ ตะแบกหนัง (ภาคกลาง), กะแบก (ไทย), ตะคู้ฮก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), บองอยาม (มาเลเซีย-ปัตตานี) |
ต้นตะแบกลำต้นความสูงประมาณ 15-30 เมตร ลำต้นแตกกิ่งแขนงบนเรือนยอด มีทรงพุ่มเป็นรูประฆัง กิ่งแขนงมีปานกลาง แต่มีใบใหญ่ และดก ทำให้แลเป็นทรงพุ่มหนา โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน โคนลำต้นของต้นที่โตเต็มที่มีลักษณะค่อนข้างเป็นพูพอน และเป็นร่องลึกล้อมรอบลำต้น ซึ่งเป็นร่องยาวสูงจนถึงประมาณกลางลำต้น ส่วนลำต้นส่วนปลายไม่เกิดเป็นร่อง เปลือกลำต้นค่อนข้างบาง มีสีขาวอมเหลือง และเป็นหลุมตื้นๆกระจายทั่ว ซึ่งเกิดจากผิวด้านนอกแตกสะเก็ดหลุดออก แต่ผิวลำต้นเรียบเนียน และสากมือบริเวณขอบหลุม เปลือกลำต้นชั้นในเป็นสีแดงม่วง ส่วนกิ่งแขนงย่อยมีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเหลี่ยม สีน้ำตาล ดอก ดอกเป็นช่อแขนง (panicle) บริเวณปลายยอดกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยประมาณ 20-25 ดอก เรียงกันจนจรดปลายช่อดอก ดอกย่อยแต่ละดอกมีรูปร่างแบบรูปปากเปิด (bilabiate) เส้นผ่าศูนย์กลางดอกขณะบานเต็มที่ประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง จำนวน 6 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ถัดมาเป็นกลีบดอก จำนวน 6 กลีบ มีขนาดยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร แผ่นกลีบดอก และขอบกลีบดอกย่น มีสีม่วง หรือม่วงอมชมพูหรือสีขาว ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5-6 กลีบ โคนกลีบคอดเป็นก้านกลีบ ถัดมาด้านในเป็นเกสรตัวผู้มีจำนวนมาก มีอับเรณูสีเหลือง ก้านเกสรตัวผู้ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 อัน ก้านเกสรยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ส่วนรังไข่มี 1 อัน ที่อยู่บริเวณฐานดอก รังไข่เป็นแบบรูปไข่เหนือวงกลีบ (superior ovary) ผล ผลตะแบกมีรูปค่อนข้างกลม ผลสดมีเปลือกหุ้มสีเขียว และหนา เมื่อแก่ เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเป็นแบบผลแห้งแตก (capsule) ยาวประมาณ 1.3-1.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-1.7 เซนติเมตร ผิวแข็ง ผลแตกตามยาว 5-6 พู ส่วนด้านในเป็นเมล็ด จำนวนมาก ขนาดเมล็ดยาวประมาณ 1.3-1.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร เมล็ดรูปร่างแบบรี มีปีก เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาล ทั้งนี้ ผลตะแบกจะเริ่มติดหลังดอกบานแล้วประมาณ 1 เดือน และผลเริ่มแห้งในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม และบางผลจะเริ่มปริแตก ปล่อยให้เมล็ดร่วงลงดินไปพร้อมกัน" | |
| |
|