พรมมิ
  ชื่อสามัญภาษาไทยพรมมิ
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษIndian pennywort, Brahmi
  ชื่อที่เกี่ยวข้องผักมิ
  ชื่อวิทยาศาสตร์Bacopa monnieri Wettst
  ชื่อวงศ์Plantaginaceae
  ชื่อท้องถิ่นผักมิ, ผักหมี่ หยดน้ำตา (ทั่วไป), พรมลี (ชุมพร) , Brahmi (ฮินดู-อินเดีย)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พรมมิเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก สูง 10-40 เซนติเมตร ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดินที่ชุ่มชื้น หรือมีน้ำขัง แตกกิ่งก้านมาก งอกรากที่ข้อใกล้พื้นดิน ลำต้นเกลี้ยง อวบน้ำ 

ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปช้อน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1-5 มิลลิเมตร ยาว 6-20 มิลลิเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีก้านใบ 

ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กลีบดอกสีม่วงอ่อนเกือบขาวติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นรูปกรวย เกสรเพศผู้มี 4 อัน รังไข่มี 2 ช่อง ภายในมีไข่อ่อนจำนวนมาก ใบประดับ รูปดาบ ยาว 2-3 มิลลิเมตร 

ผลแห้งแตกได้ รูปไข่ กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 5 มิลลิเมตร พบตามพรุน้ำร้อน หนองน้ำที่โล่ง และตามริมน้ำทั่วไป

สรรพคุณทั่วไป

  • บำรุงสมอง
  • เพิ่มความจำ เพิ่มความสงบ
  • ทำให้อ่อนวัย
  • เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ขับโลหิต
  • แก้ไข้
  • ขับพิษร้อน
  • ขับเสมหะ
  • ขับปัสสาวะ
  • บำรุงกำลัง
  • บำรุงหัวใจ
  • บำรุงประสาท
  • ขับพยาธิ
  • แก้หืด
  • แก้ร้อนในกระหายน้ำ
  • ช่วยเพิ่มและฟื้นฟูความจำ
  • ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ 

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ในการใช้พรมมิเป็นอาหารและผักจิ้มน้ำพริกคล้ายตำลึง สามารถบริโภคได้ตามปกติ 
  • แต่หากเป็นการใช้สารสกัดพรมมิ ควรใช้วันละ 1 เม็ด (300 มิลลิกรัม) หรืออาจรับประทานผักพรมมิ 30 กรัม (50ยอด) ก็จะเท่ากับสารสกัด 1 เม็ดเช่นกัน


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=303
  2. รศ.ดร.กรกนก  อิงคนินันท์.พรมมิ สมุนไพรบำรุงความจำ ผลงานวิจัยดีเด่น  สาชวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชศาสตร์ ประจำปี 2559  คอลัมน์ อาคันตุกะ.สรรพสรวงทางยา.ปีที่15.ฉบับ201 ประจำเดือน 2558.หน้า35-37
  3. พิชานันท์ สีแก้ว .พรมมิ สมุนไพรรักษาอาการความจำเสื่อม.จุลสารข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ปีที่ 29 ฉบับที่3.เมษายน 2555 หน้า 16-19
  4. นันทวัน บุณยะประภัศร, บรรณาธิการ. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน 3. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด; 2543. 823 หน้า
  5. กรกนก อิงคนันท์  วธู พรหมพิทยารัตน์ พรนรินทร์ เทพาวราพฤกษ์ และคณะ. การศึกษาพัฒนาพรมมิเพื่อใช้เป็นสมุนไพรบำรุงความจำ. การเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านสมุนไพรสู่ระดับอุตสาหกรรมครั้งที่ 2. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช). 2550.
  6. ต้นพรมมิ.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5214