บัวหลวง
  ชื่อสามัญภาษาไทยบัวหลวง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษLotus, Sacred lotus, Egyptian lotus
  ชื่อวิทยาศาสตร์Nelumbo nucifera Gaertn.
  ชื่อวงศ์Nelumbonaceae
  ชื่อท้องถิ่นโกกระณต, บัว, บัวอุบล, บัวฉัตรขาว, บัวฉัตรชมพู, บัวฉัตรสีชมพู, บุณฑริก, ปุณฑริก, ปทุม, ปัทมา, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, โช้ค (เขมร)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นบัวหลวง จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลักษณะของเหง้าเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลือง มีความแข็งเล็กน้อย หากตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูปกลม ๆ อยู่หลายรู โดยส่วนของไหลจะเป็นส่วนเจริญไปเป็นต้นใหม่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร และสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดหรือวิธีการแยกไหล มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย 

ใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะลอยปริ่มน้ำ ส่วนใบแก่แผ่นใบจะชูขึ้นเหนือน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปเกือบกลมและมีขนาดใหญ่ โดยมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนเป็นนวลเคลือบอยู่ ก้านใบจะติดอยู่ตรงกลางของแผ่นใบ ก้านใบมีลักษณะแข็งและเป็นหนาม หากตัดตามขวางจะเห็นรูอยู่ภายใน และก้านใบจะมีน้ำยางสีขาว เมื่อหักก้านจะมีสายใยสีขาว ๆ สำหรับใบอ่อนจะเป็นสีเทานวล ปลายจะม้วนงอขึ้นเข้าหากันทั้งสองด้าน 

ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู มีกลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กและสีขาวอมเขียวหรือเป็นสีเทาอมชมพู ร่วงได้ง่าย ส่วนกลีบดอกจะมีจำนวนมากและเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-9 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 20-25 เซนติเมตร ในดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร และล้อมรอบอยู่บริเวณฐานรองดอกซึ่งมีลักษณะเป็นรูปกรวยหงาย หรือที่เรียกว่า “ฝักบัว” ที่ปลายอับเรณูจะมีระยางคล้ายกระบองเล็ก ๆ สีขาว ส่วนเกสรตัวเมียจะมีรังไข่ฝังอยู่ในฐานรองดอก เมื่ออ่อนเป็นสีเหลือง หากแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ช่องรังไข่จะเรียงเป็นวงบนผิวหน้าตัด มีจำนวน 5-15 อัน ส่วนก้านดอกมีสีเขียว ลักษณะยาวและมีหนามเหมือนก้านใบ โดยก้านดอกจะชูขึ้นเหนือน้ำและชูขึ้นสูงกว่าก้านใบเล็กน้อย ดอกบัวหลวงจะเริ่มบานในตอนเช้า โดยจะออกดอกและผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม (ดอกมีสารอัลคาลอยด์ (alkaloids) ชื่อ nelumbine ส่วน Embryo มี lotusine ส่วนเกสรมีสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น quercetin, isoquercitrin, luteolin, luteolin glucoside และยังพบว่ามีสารอัลคาลอยด์ด้วย) 

ในฝักมีผลอ่อนสีเขียวนวลจำนวนมาก ผลจะฝังอยู่ในส่วนที่เป็นฝักรูปกรวยในดอก ในรูปกรวยของดอกนั้นเมื่ออ่อนจะเป็นสีเหลือง เมื่อแก่แล้วจะขยายใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีเทาอมเขียว โดยจะมีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่ในฝักรูปกรวยเป็นจำนวนมาก ออกผลเป็นกลุ่มหรือที่เรียกว่าฝัก ลักษณะผลเป็นรูปกลมรี ผลอ่อนมีสีเขียวนวลและมีจำนวนมาก เมล็ดมีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ในเมล็ดมีดีบัวหรือต้นอ่อนที่ฝังอยู่กลางเมล็ดมีสีเขียว (เมล็ดมีสารอัลคาลอยด์ (alkaloids) และ beta-sitosterol

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยบำรุงกำลัง ชูกำลัง
  • บำรุงหัวใจ
  • บรรเทาอาการหน้ามืด วิงเวียน
  • ช่วยทำให้ชื่นใจ
  • ใช่เป็นยาสงบประสาท
  • ช่วยขับเสมหะ
  • บำรุงปอด
  • บำรุงตับ
  • ช่วยคุมธาตุ
  • แก้ไข้
  • แก้ปัสสาวะบ่อย
  • แก้น้ำกามเคลื่อน
  • แก้ตกขาว
  • แก้ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • แก้เลือดกำเดาไหล
  • แก้อาการท้องเสีย
  • แก้อาการซ้ำใน
  • ช่วยให้นอนหลับ
  • แก้ริดสีดวงจมูก
  • แก้ลมพิษ
  • แก้ท้องเดิน
  • ช่วยห้ามเลือด
  • แก้อาการปวดศีรษะเป็นไข้
  • แก้อาการท้องร่วง
  • ช่วยขยายเส้นเลือดหัวใจ
  • แก้ร้อนในกระหายน้ำ
  • แก้พุพอง
  • แก้เป็นตะคริวที่ท้อง
  • ช่วยห้ามเลือด
  • แก้พิษหัด
  • แก้พิษสุกใส
  • แก้อ่อนเพลีย(ใช้เกสรบัวหลวง ร่วมกับเปลือกฝิ่นต้น และลูกมะตูมอ่อน)
  • ช่วยให้เจริญอาหาร
  • ช่วยแก้น้ำกามเคลื่อน (ฝันเปียก)

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้เกสรบัวหลวงแห้งบดเป็นผงปรุงเป็นยาหอมจะช่วยบำรุงหัวใจ บรรเทาอาการหน้ามืด วิงเวียนทำให้ชื่นใจ เป็นยาสงบประสาท ขับเสมหะ 
  • หรือใช้เกสรบัวหลวงสด หรือแห้งประมาณ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่ ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง 
  • หรือใช้เกสรบัวหลวงแห้ง บดเป็นผงครั้งละ 0.5 -1 ข้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มหรือใช้ในขนาด 3-5 กรัม ใช้แก้อาการช้ำในช่วยในการนอนหลับ
  • ใช้ดอกบัวตูมแห้ง 3-5 ดอก ต้มน้ำ 4-7 แก้ว ให้เดือดนาน 5-10 นาที ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่รับประทาน วันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว หรือดื่มต่างน้ำ 
  • ใบบัวสดนำมาต้มน้ำใช้ดื่มเพื่อลดความดันเลือดและลดไขมันในเลือด ดีบัว 
  • ต้นอ่อนในเมล็ด นำมาตากแห้ง คั่วให้หอม ชง น้ำร้อนดื่มเหมือนน้ำชา มีคุณสมบัติ ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ บำรุง หัวใจ สงบประสาท ขับเสมหะ 
  • เหง้าหรือรากบัวใช้ต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติในเด็ก 
  • ใบบัวนำมาหั่นเป็นฝอยแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ใช้ทำเป็นมวนสูบเพื่อช่วยบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก 
  • บัวทั้งต้นใช้แก้พิษจากการรับประทานเห็ดพิษและอาการเป็นพิษจากพิษสุราเรื้อรัง ด้วยการใช้ทั้งต้นประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. วิเชียร จีรวงส์.เอกสารประกอบการประชุมใหญ่ของสมาคมสมุนไพรไทยแห่งประเทศไทย.30 เมษายน 2537.ณ.คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  2. เดชา ศิริภัทร . บัวหลวง.คุณค่า ควรคู่ คนบูชา. คอลัมน์ ต้นไม้ใบหญ้า.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 283.พฤศจิกายน 2545
  3. ผศ.ดร.สุดารัตน์ หอมหวน.บัว สมุนไพรในตำรับยาหอม.ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
  4. วุฒิ วุฒิธรรมเวช.สารานุกรมสมุนไพร.โอเดียนสโตร์.กรุงเทพมหานคร.2540
  5. ธิดารัตน์ จันทร์ดอน.บัวหลวง....สัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  6. คณิดา เลขะกุล,จิรายุพิน จันทรประสงค์.ชุมศรี ชัยอนันต์ และคณะไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ ด่านสุทธาการพิมพ์.กรุงเทพมหานคร2536.
  7. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา.บัญชียาจากสมุนไพร.2549.พิมพ์ครั้งที่2.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยกรุงเทพมหานคร.2551
  8. ชยันต์ พิเชียรสุนทร.คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 5 คณาเภสัช.กรุงเทพฯ บริษัทอมรินทร์ พริ้นดิ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 2547 .351 หน้า.
  9. พฤฒาจารย์วิพุธโยคะ รัตนรังสี,สุวัตร์ ตั้งจิตรเจริญ,ปริญญา อุทิศลานนท์.เพชรน้ำเอก กรุยอดตำรับยาสมุนไพร พิมพ์ครั้งที่ 2. สุวีริยา สาส์น กรุงเทพมหานคร.2541
  10. ชยันต์ พิเชียรสุนทร.แม้นมาส ชวลิต , วีเชียร จีรวงส์.คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์,อมรินทร์ กรุงเทพมหานคร 2544.
  11. นิจศิริ เรื่องรังสี.ธวัชชัย มังคละคุปต์.สมุนไพรไทยเล่ม 1 ฐานการพิมพ์ จำกัดกรุงเทพมหานคร 2547
  12. นันทวัน บุณยะประภัศสร.สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) กรุงเทพฯ บริษัทประชาชนจำกัด 254.640หน้า
  13. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.สมุนไพร ไทย-จีน โรงพิมพ์การศาสนา กรุงเทพมหานคร 2547.
  14. ดอกบัวหลวงช่วงป้องกันภาวะความจำบกพร่องจากภาวะเครียด.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  15. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, นงลักษณ์ เรืองวิเศษ. วิเคราะห์ วิจัย คุณภาพเครื่องยาไทย. คอนเซ็พท์ เมดิคัส จำกัด:กรุงเทพมหานคร, 2551.
  16. เกสรบัวหลวง.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main
  17. การปลูกบัวหลวง.พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.puechkset.com
  18. ถนอมศรี วงศ์รัตนาสถิต.เอกลักษณ์สมุนไพร โรงพิมพ์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพมหานคร2538
  19. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร 2549. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย:กรุงเทพมหานคร, 2551.