ว่านกล่อมนางนอน
  ชื่อสามัญภาษาไทยว่านกล่อมนางนอน
  ชื่อวงศ์Zingiberaceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ว่านกล่อมนางนอนมีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้ากลม คล้ายเผือกมีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร หรือเล็กกว่า มีต่อมน้ำเลี้ยงรูปหยดน้ำ เป็นก้านออกจากหัวหลัก 

ใบเป็นรูปกลมรี โคนใบป้อม กลางใบรูปขอบขนาน และสอบแหลมที่ปลายใบ ก้านใบยาว หลังใบมีขนอ่อนนุ่ม 

ดอกคล้ายกระเจียว ใบประดับช่วงบนมีสีขาว ช่วงล่างสีเขียว แต่มีแต้มขาวตรงปลาย ดอกจริงสีม่วงขาว

สรรพคุณทั่วไป

  • เป็นยาเลือดผู้หญิง รากมีกลิ่นหอม เอาต้นและรากไปต้ม

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • เป็นว่านเมตตามหานิยมชั้นยอดชนิดหนึ่ง ซึ่งหายากมาก จะพบได้ในภาคอิสานในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ถ้าจะทำให้เคลิบเคลิ้มให้เสกดอกว่านนี้ ผึ่งตากแดดให้แห้งในคืนเดือนดับ คือแรม 15 ค่ำ แล้วนำมาแช่น้ำมันจันทน์อย่างดี ขณะใส่น้ำมันให้ว่าคาถาดังนี้ “ภควา สุคโต อรหัง” รวม 7 ครั้ง ตอนที่จะใช้ก็ให้ภาวนาเช่นเดียวกัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • https://thaiherbtherapy.com/Herbs/Herb_Kromngangngon.html 
  • http://banvanthai.com/ชนิดว่าน-ตามวงศ์/ว่าน-กล่อมนางนอน/1040/