หญ้าใต้ใบ
  ชื่อสามัญภาษาไทยหญ้าใต้ใบ
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษChamber bitter
  ชื่อที่เกี่ยวข้องหมากไข่หลัง
  ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus urinaria L.
  ชื่อพ้องไฟเดือนห้า
  ชื่อวงศ์Euphorbiaceae
  ชื่อท้องถิ่นมะขามป้อมดิน
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หญ้าใต้ใบเป็นไม้ล้มลุก สูง 10.00 - 80.00 เซนติเมตร 

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 21 - 33 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมมีติ่งหนามเล็กๆ โคนใบมน ขนาดประมาณ 0.50 X 1.00 เซนติเมตร ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีน้ำตาลอ่อนรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน 

ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.00 เซนติเมตร 

ผลทรงกลมขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร สีเขียวอมน้ำตาลอ่อนผิวย่นเป็นตุ่ม เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตร ผิวย่นเป็นเส้นลายตามขวางทั้งเมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • รากและใบของลูกใต้ใบใช้ชงดื่มกับน้ำเป็นยาบำรุงร่างกาย 
  • ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย 
  • ในเขมรใช้ลูกใต้ใบชนิด P. urinaria เป็นยาเจริญอาหาร 
  • ผลใช้ต้มดื่มช่วยบำรุงสายตา ทำให้สายตาดี ช่วยรักษาโรคตา 
  • ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีประโยชน์ต่อผู้เป็นโรคเบาหวาน แต่มีข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานว่า ต้องรับประทานยาแผนปัจจุบันตามที่แพทย์สั่งและควรหมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria จำนวน 1 กำมือนำมาต้มดื่ม 
  • ช่วยลดความดันโลหิต 
  • ลูกใต้ใบใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยลดไข้ทุกชนิด (ไข้หวัด ไข้จับสั่น ไข้ทับระดู ไข้หวัดใหญ่ ไข้จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไข้จากการอ่อนเพลีย) ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ลูกใต้ใบตากแห้งเก็บใส่โหลไว้ชงเป็นชาดื่มก็ได้เช่นกัน 
  • ช่วยรักษามาลาเรีย 
  • ช่วยแก้อาการไอ ใบอ่อนใช้เป็นยาแก้ไอสำหรับเด็ก 
  • ช่วยแก้หืด ด้วยการใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำอุ่น แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละ 2-3 อึก วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • แก้ไข้ท้องบระดู นำหญ้าใต้ใบทั้ง 5 ล้างน้ำสะอาด ตำละเอียดผสมสุรา คั้นเฉพาะน้ำยา กินครั้งละ 1 ถ้วยชา 
  • แก้ร้อนใน ให้เอาหญ้าใต้ใบทั้ง 5 ต้มกิน 
  • ขับเหงื่อ เอาหญ้าใต้ใบต้มกินขับเหงื่อ ลดไข้ได้ 
  • ขับปัสสาวะ นำหญ้าใต้ใบต้มกิน กระตุ้นไตให้ทำงานและขับ ปัสสาวะ
  • แก้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ใช้หญ้าใต้ใบต้มกิน รักษาโรคติด เชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่น ไตอักเสบจนตัวบวม (ให้สังเกตดู กินแล้วต้อง มีปัสสาวะออก ถ้ากินแล้วปัสสาวะไม่ออกให้หยุดยา) 
  • แก้นิ่ว หญ็าใต้ใบทั้ง 5 จำนวน 1 กำมือ ตำแหลกคั้นน้ำดื่มให้ได้ครึ่งถ้วยชา เอาสารส้มขนาดปลายนิ้วก้อยละลายลงไป ดื่มให้หมดครั้งละ ครึ่งถ้วยชา วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร ดื่มติดต่อกันให้ได้ 3 วัน จากนั้น ใช้ลูกใต้ใบ ทั้ง๕ จำนวน 1 กำมือ ต้มกับน้ำตาลทรายแดงให้พอหวานดื่มต่างน้ำติดต่อกันอีก ๓ วัน ขึ้นวันที่ 
  • ดื่มน้ำอ้อยสด วันละ 1 ขวดน้ำปลาอีก 3 วัน เพื่อล้างนิ่วเป็นขั้นสุดท้าย รวม 1 รอบ การรักษาเป็นเวลา 9 วัน แก้ประจำเดือนมากว่าปกติ ใช้รากสดต้นลูกใต้ใบตำผสมกับ น้ำซาวข้าวกิน 
  • ขับประจำเดือน ใช้ต้นลูกใต้ใบต้มกินขับประจำเดือน 
  • แก้นมหลง หญิงที่คลอดบุตรแล้วน้ำนมที่เคยไหลเกิดหยุดไหลและมีอาการปวดเต้านมด้วย เรียกอาการนี้ว่า นมหลง ถ้าปล่อยไว้จะกลายเป็นฝีที่นมได้ วิธีใช้คือ เอาลูกใต้ใบทั้งห้า จำนวน 1 กำมือ ตำผสม เหล้าขาวคั้นเาอน้ำกิน 1 ถ้วยชา เอากากพอกทำเพียงครั้งเดียว ไม่กี่นาที นมจะไหลออกมา 
  • แก้ปวดหลังปวดเมื่อย ใช้หญ้าใต้ใบทั้ง 5 ล้างน้ำสะอาดสับเป็น ชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง ใส่หม้อดินต้ม ดื่มน้ำยาต่างน้ำชา มีสรรพคุณ แก้ปวดหลังปวดเอว 
  • แก้เถาดานในท้อง เถาดานมีลักษณะเป็นก้อนแข็งในท้องบางที มีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง อาจเป็นผลทำให้ปวดหลังตามาได้ เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ตากให้แห้ง 1 ลิตร แช่ในสุรา 1 ลิตร หมกข้าวเปลือกไว้ 7 วัน แล้วเอามานึ่ง คะเนว่าธูปหมด 1 ดอก กิน เช้า-เย็น 
  • ยาบำรุง ใช้รากและใบของลูกใต้ใบ ทำเป็นยาชงน้ำกิน โดยถือว่า เป็นยาบำรุงกำลังอย่างดี 
  • แก้เบาหวาน ให้เอาลูกใต้ใบทั้งห้า 1 กำมือ ต้มดื่มแก้เบาหวาน 
  • แก้ดีซ่าน เอาลูกใต้ใบทั้งห้า ต้ม 3 เอา 1 กินครั้งละ ครึ่ง -1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง ในจีนใช้ต้นหญ้าใต้ใบต้มกินติดต่อกัน 1 สัปดาห์ และ ยังถือว่าช่วยกำจัดพิษออกจากตับซึ่งจะมีผลทำให้สายตาดี ส่วนใน อินเดีย ใช้เฉพาะรกาต้มกิน เป็นยาแก้ดีซ่านดีมาก 
  • แก้กระเพาะอาหารพิการ ใช้รากลูกใต้ใบต้มหรือชงน้ำกิน บำรุง กระเพาะอาหารในเขมรใช้ลูกใต้ใบเป็นยาเจริญอาหาร ในจีน ใช้ หญ้าใต้ใบรักษาลำไส้อักเสบ 
  • รักษาแผล ในอินเดีย ใช้ใบลูกใต้ใบ ตำพอกหรือตำคั้นเอาน้ำทารักษาแผลสด แผลฟกช้ำ และใช้ใบตำผสมน้ำซาวข้าวพอกรักษาแผล เรื้อรัง 
  • แก้คัน ใช้ใบผสมกับเกลือ ตำแก้คัน 
  • แก้เริม ใช้ลูกใต้ใบทั้งห้า ตำผสมเหล้าคั้นเอาน้ำยา แล้วเอาสำลี ชุบแปะตรงที่เป็นเริม จะรู้สึกเย็นและหายปวด 
  • แก้ฟกช้ำ ใช้ต้นสดๆ ตำผสมกับสุราพอกแก้ฟกบวม บางตำรา ใช้คลุกกับข้าวสุกเสียก่อน ค่อยพอก ในอินเดีย ใช้ใบและรากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำซาวข้าวพอกแก้ฟกบวม 
  • แก้ฝี ใช้ต้นหญ้าใต้ใบสดๆ ตำผสมกับสุรา เอาน้ำทาหรือพอกแก้ ปวดฝี 
  • แก้หืด ใช้ลูกใต้ใบ ทั้งห้า นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสม กับน้ำอุ่นคั้นเอาน้ำเฉพาะน้ำดื่มครั้งละ 2-3 อึก เป็นเวลา 3 วันๆละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 
  • แก้บิด ใช้ลูกใต้ใบทั้งห้าต้มกิน หรือใช้ลูกใต้ใบทั้งห้า แทรกปูน แดง ขนาดเม็ดถั่วดำ ต้มรวมกันกินแก้บิด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี .  “ลูกใต้ใบ“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.  [9 ธ.ค. 2013].
  2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “ลูกใต้ใบ“.  อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรตอนที่ 5 (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th.  [9 ธ.ค. 2013]. 
  3. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “ลูกใต้ใบ“.  (ไพร มัทธวรัตน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th.  [9 ธ.ค. 2013]. 
  4. สารสนเทศเกษตร พืชสมุนไพร (Medicinal Plants) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “ลูกใต้ใบ“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.ku.ac.th/AgrInfo/plant/.  [9 ธ.ค. 2013]. 
  5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).  “ต้นใต้ใบ สุดยอดสมุนไพร“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th.  [9 ธ.ค. 2013]. 
  6. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.  “การรวบรวมคุณสมบัติและประโยชน์ของต้นลูกใต้ใบ“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: journal.pnu.ac.th.  [9 ธ.ค. 2013] 
  7. มูลนิธิหมอชาวบ้าน.  นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 121 คอลัมน์: โลกกว้างและการแพทย์.  “การทดลองใช้ยาสมุนไพรรักษาไวรัสตับอักเสบ“.  (รศ.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th.  [9 ธ.ค. 2013]. 
  8. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.  “ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของลูกใต้ใบ 3 ชนิด (Pharmacological activities of three Phyllanthus species)“.  (นวลน้อย จูฑะพงษ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: ird.sut.ac.th.  [9 ธ.ค. 2013]. 
  9. วิชาการดอตคอม.  “ลูกใต้ใบ สุดยอดสมุนไพรใกล้ตัว“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.vcharkarn.com.  [9 ธ.ค. 2013]. 
  10. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “หญ้าใต้ใบ“.  (ไพร มัทธวรัตน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th.  [9 ธ.ค. 2013]. 
  11. เดอะแดนดอตคอม.  “หญ้าใต้ใบ“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.the-than.com.  [9 ธ.ค. 2013].
  12. http://www.the-than.com/samonpai/sa_36.html