มังคุด
  ชื่อสามัญภาษาไทยมังคุด
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษMangosteen
  ชื่อวิทยาศาสตร์Garcinia mangostana L.
  ชื่อวงศ์Guttiferae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มังคุดเป็นไม้ต้น ลำต้นตั้งตรง แข็งแรง สูงประมาณ 7 - 12 เมตร ลักษณะทรงพุ่มค่อนข้างกลม ภายในทรงพุ่มจะมีกิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นที่เป็นแกนกลางเป็นรัศมีโดยรอบ กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมน ผิวเปลือกลำต้นสีน้ำตาลคล้ำ และน้ำยางจากลำต้นจะมีสีเหลือง 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่ง โคนใบมนหรือแหลมสอบเข้าหากัน ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา มีเส้นใบจำนวนมากเรียงกันถี่ๆ มีสีเขี้ยวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีสีเขียวอ่อนออกเหลือง เส้นกลางใบนูนทั้งสองด้าน 

ดอก ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นคู่ ออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก 4 กลีบหนา เป็นรูปมนโค้ง มีสีเหลือง กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ มีสีชมพูแก่ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรเล็ก โคนก้านแบน เกสรเพศเมียไม่มีก้าน 

ผล เป็นรูปทรงกลมรี หรือค่อนข้างแบนเล็กน้อย เปลือกผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สุกจะมีสีแดงอมชมพูหรือออกสีม่วงดำ เปลือกผลหนามียางสีเหลือง ที่ปลายผลมียอดเกสรเพศเมียติดอยู่ แยกเป็น 4 - 7 แฉก ที่ขั้วผลมีกลีบรองกลีบดอก 4 กลีบติดอยู่ ภายในมีเนื้อสีขาว 4 - 7 กลีบ รสหวาน เมล็ด มีประมาณ 0 - 4 เมล็ด ส่วนใหญ่เมล็ดจะลีบ

สรรพคุณทั่วไป

  • ประโยชน์ของเปลือกมังคุดมีส่วนช่วยป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)
  • ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
  • มังคุดรักษาสิว เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และยังออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดีอีกด้วย
  • มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ลดความเครียด
  • ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
  • การรับประทานมังคุดเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดีอยู่เสมอ
  • สารสกัดจากมังคุดช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดทีเอช 1 และทีเอช 17 มีฤทธิ์ช่วยกำจัดและป้องกันการก่อเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่าง ๆ อย่าง เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหัวใจ
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายและลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือด
  • มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกาย
  • มีสวนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยคุณสมบัติในการลดและควบคุมระดับน้ำตาล
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้
  • มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการของโรคหอบหืด
  • มีส่วนช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  • ช่วยบำรุงสุขภาพช่องปากและเหงือกให้แข็งแรง
  • ช่วยรักษาและสมานแผลในช่องปากหรือปากแตกให้หายเร็วยิ่งขึ้น
  • ไฟเบอร์จากมังคุดช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
  • ช่วยบำรุงและฟื้นฟูความสมดุลภายในกระเพาะอาหาร ด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง จุกเสียด เกิดแก๊สในกระเพาะและการดูดซึมอาหารบกพร่อง
  • ช่วยแก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ นำมาฝนกับน้ำปูนใส
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เปลือกสดหรือแห้งฝนกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เปลือกแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ผลเหมือนกัน
  • ช่วยให้ระบบทางเดินปัสสาวะอยู่ในสภาวะปกติ
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต
  • มีส่วนช่วยป้องกันอาการตับเสื่อม ไตวาย
  • ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ
  • เปลือกของมังคุดมีสารแทนนินที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว
  • ช่วยต่อต้านและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และไวรัสต่าง ๆ อย่างเชื้อวัณโรค เชื้อ HIV เป็นต้น
  • ช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง 
  • ช่วยยับยั้งการเกิดและใช้รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ อย่าง กลากเกลื้อน ผดผื่นคันต่าง ๆ ด้วยการใช้เปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำอาบ หรือใช้น้ำต้มเปลือกมาทาบริเวณที่เป็น
  • ใช้รักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส



 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ผล (เนื้อหุ้มเมล็ด) รสเย็นหวานอมเปรี้ยว บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ร้อนในเนื่องจากรับประทานทุเรียน 
  • เปลือกผล รสฝาด เปลือกผลแห้งใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย แก้บิด ทางเดินปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
  • น้ำต้มจากเปลือกผล ใช้เป็นยากลั้วคอรักษาแผลในปากและชะล้างแผล มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดหนองและต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง 
  • ยางจากผล รสฝาด รับประทานแก้บิด ท้องร่วง ใส่แผลที่เป็นหนอง 
  • ต้น รสฝาด ทุกส่วนของลำต้นเป็นยาฝาดสมาน 
  • ยางจากต้นเป็นยาถ่ายอย่างแรง
  • น้ำต้มจากเปลือกต้นและใบ อมกลั้วคอแก้แผลในปากและลดไข้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิชาการดอทคอม
หนังสือพิมพ์มติชน (13/08/55)