มะคำดีควายใบเล็ก
  ชื่อสามัญภาษาไทยมะคำดีควายใบเล็ก
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSoap nut tree, Soapberry.
  ชื่อวิทยาศาสตร์Sapindus rarak DC., Sapindus trifoliatus L.
  ชื่อวงศ์Sapindaceae
  ชื่อท้องถิ่นประคำดีความ (ทั่วไป, ภาคกลาง), มะซัก, ส้มป่อยเทศ (ภาคเหนือ), คำดีควาย (ภาคใต้), ชะแซ, ซะเหล่าด (กะเหรี่ยง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะคำดีควายใบเล็กจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้น ความสูงประมาณ 5-10 เมตร มีลักษณะเปลือกเป็นสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ มีเรือนยอดเป็นทรงพุ่มหนาทึบ
สรรพคุณทั่วไป

  • นำผลมาใช้เป็นสารชะล้างแทนสบู่เพื่อชำระล้างร่างกาย สระผม หรือนำไปใช้ซักผ้า หรือใช้ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ 
  • นำเมล็ดมะคำดีควายที่มีลักษณะกลมและแข็ง มีสีน้ำตาลดำ ไปใช้ร้อยทำเป็นลูกประคำ หรือเครื่องรางของขลังต่างๆ 
  • มีการนำผลของมะคำดีควายมาใช้ในการเบื่อปลา และใช้เป็นยาฆ่าแมลงต่างๆ

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะคำดีควาย”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 151. 
  2. มะคำดีควาย ฐานข้อมูลสมุนไพรที่มีการใช้ในผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะคำดีควาย”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 151. 
  3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะคำดีควาย Soapberry”. หน้า 183. 
  4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ประคำดีควาย”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 445-446. 
  5. มะคำดีควาย,ส้มป่อย.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์อุบลราชธานี(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudruy.com/main.php?action=viewpage&pid=103 
  6. ประคำดีควาย.กลุ่มยาลดไข้ ลดความร้อน.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด.โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plant_data/herbs/herbs_09_6.htm. 
  7. ประคำดีควาย(Soapberry) สรรพคุณและพิษประคำดีควาย.พืชเกษตรดอทคอม.เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com