คาง
  ชื่อสามัญภาษาไทยคาง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษBlack siris, Ceylon rose wood
  ชื่อที่เกี่ยวข้องกาง, ก๋าง, ข่าง, คาง, คางแดง, จามจุรีดง, จามจุรีป่า
  ชื่อวิทยาศาสตร์Albizia lebbekoides (DC.) Benth.
  ชื่อพ้องAcacia lebbekoides DC., Albizia lebbekioides (DC.) Benth.
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นคาง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตามกิ่งก้านมีขนขึ้นปกคลุม เป็นพรรณไม้ที่เกิดขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำอาจขึ้นลงท่วมถึงได้ โดยพบได้ตามลำธารทางภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ส่วนในกรุงเทพฯ ก็พอหาได้บ้าง

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละใบประกอบมี 15-25 คู่ เรียงตรงข้ามกัน ไม่มีก้าน ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม มีขนขึ้นปกคลุมทั้ง 2 ด้าน

ออกดอกเป็นช่อด้านข้าง เป็นดอกช่อชนิดกลุ่มย่อย กลีบเลี้ยงเป็นรูปกระดิ่ง กลีบดอกเป็นหลอด

ผลมีลักษณะฝักแบนโต สีน้ำตาลเข้ม มีขนขึ้นปกคลุม

สรรพคุณทั่วไป

  • ดอกมีรสหวาน ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ 
  • เปลือกต้นมีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะและบำรุงหนังเส้นเอ็นให้บริบูรณ์ 
  • ดอกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง 
  • เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ด้วยการใช้เปลือกต้น 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น 
  • ผลใช้เป็นยารักษาโรคในจักษุ 
  • เปลือกต้นและใบใช้เป็นยาแก้ไอ 
  • รากและดอกใช้เป็นยาแก้ลงท้อง 
  • เปลือกต้นใช้เป็นยารักษาลำไส้พิการ 
  • เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้โรคพยาธิ 
  • เปลือกต้นช่วยรักษาอาการตกเลือด 
  • ดอกใช้เป็นยาแก้พิษงู 
  • ใช้เป็นยารักษาคุดทะราด และรักษาอาการไข้ที่เกิดจากพิษอักเสบตา 
  • ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้ฝี 
  • รากใช้เป็นยาแก้ฝีเปื่อย แก้บวม 
  • ดอกใช้เป็นยาแก้ฝี แก้บวม แก้ฟกช้ำบวม รักษาอาการปวดบาดแผล 
  • เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้พิษฝี รักษาฝี แก้แผลเน่า แก้อาการบวม ปวดบาดแผล

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด.  (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก).  “คาง”.  หน้า 70.
  2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “คาง”.  หน้า 182-183.