อบเชยญวน
  ชื่อสามัญภาษาไทยอบเชยญวน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCinnamon, Saigon Cinnamon, Vietnamese cassia
  ชื่อที่เกี่ยวข้องอบเชยต้น, มหาปราบ, เซียด, ฝักดาบ, พญาปราบ, ฮักแกง, สุรามริด, โมง, โมงหอม, เคียด, กะทังหัน
  ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum loureiroi Nees
  ชื่อวงศ์Lauraceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

อบเชยญวน เป็นไม้ยืนต้น มีลักษณะลำต้นคล้ายคลึงกับอบเชยจีนมาก 

ใบเป็นใบเดี่ยวค่อนข้างบาง ลักษณะของใบเป็นรูปร่างยาวเรียว ปลายใบแหลม 

ดอกและผลมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม แต่กลิ่นจะหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ มีรสหวาน ชนิดนี้มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และประเทศไทยเราจะส่งออกอบเชยชนิดนี้เป็นหลัก

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยย่อยสลายไขมัน ควบคุมระดับไขมันในเลือด และคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ให้มีระดับต่ำลง 
  • ช่วยต้านมะเร็ง เพราะมสารคลีเซอไรซินเข้มข้น 
  • เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ 
  • เมล็ดนำมาทุบให้แตกผสมกับน้ำผึ้ง ให้เด็กกินเป็นยาแก้ไอ 
  • รากและใบ ใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ ๆ 
  • ช่วยแก้ไอเย็น หืดหอบเนื่องมาจากลมเย็นกระทบ 
  • ตำรับยาแก้อาการไอหอบหืด ให้ใช้อบเชยจีน หู่จื้อ เจ็กเสี่ย เปลือกโบตั๋น อย่างละ 3-5 กรัม ซัวจูยู้ ซัวเอี๊ยะ หกเหล็ง อย่างละ 6 กรัม และเส็กตี่ 12 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน หรือทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนรับประทาน เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน 
  • ส่วนใบสามารถนำมาปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนได้เช่นกัน 
  • ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน 
  • รากใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดฟัน 
  • เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาน้ำ แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับผายลม อาหารไม่ย่อย 
  • ส่วนใบใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้จุกเสียดแน่นท้องและลงท้อง 
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วง แก้ท้องเสีย แก้ท้องเสียในเด็ก แก้บิด ลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ ลำไส้อักเสบ 
  • เมล็ดอบเชยไทย นำมาทุบให้แตกผสมกับน้ำผึ้งให้เด็กกินเป็นยาแก้บิด 
  • เปลือกต้นใช้แทน Cinnamon เคี้ยวกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง 
  • ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร 
  • แก้โรคกระเพาะ ปวดกระเพาะหรือถ่าย เนื่องจากลมเย็นชื้นหรือลมเย็นที่ทำให้มีอาการปวดและท้องเสีย ให้ใช้อบเชยจีน 2-3 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน 
  • ยาชงจากเปลือกต้น ใช้กินเป็นยาถ่าย 
  • ช่วยขับพยาธิ 
  • ช่วยขับปัสสาวะ 
  • ช่วยแก้ไตหย่อน ปัสสาวะไม่รู้ตัว หรือปัสสาวะบ่อย ให้ใช้อบเชยจีน หู่จื้อ เจ็กเสี่ย เปลือกโบตั๋น อย่างละ 3-5 กรัม ซัวจูยู้ ซัวเอี๊ยะ หกเหล็ง อย่างละ 6 กรัม และเส็กตี่ 12 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน หรือทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนรับประทาน 
  • เปลือกนำมาต้มหรือทำเป็นผง ใช้แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา 
  • เปลือกต้นนำมาบดให้เป็นผงใช้โรยรักษาแผลกามโรค 
  • ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี 
  • รากนำมาต้มให้สตรีกินหลังการคลอดบุตร และลดไข้หลังการผ่าตัด 
  • น้ำต้มเปลือกต้นใช้ดื่มเป็นยาแก้ตับอักเสบ 
  • เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาห้ามเลือด ช่วยสมานแผล 
  • ใบอบเชยเทศมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเชื้อ 
  • น้ำมันอบเชยเทศมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อรา แต่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง 
  • น้ำยางจากใบใช้เป็นยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง 
  • ใบใช้ตำเป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม 
  • ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง ปวดเอวเนื่องจากไตหย่อน ไม่มีกำลัง แก้ปวดตามข้อ ปวดตามบ่าหรือไหล่ 
  • คนเมืองจะใช้รากอบเชยไทย นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว 
  • ช่วยแก้ลมอัณฑพฤกษ์
  • รากมีรสหอมสุขุม มีสรรพคุณช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • สามารถนำอบเชยญวณมาแปรรูปเป็นยา หรือ เครื่องเทศสำหรับทำอาหารได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.kasettambon.com/อบเชยญวน/
  2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “อบเชย”.  หน้า 195.
  3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “อบเชย”.  หน้า 83.
  4. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด.  (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก).  “อบเชย”  หน้า 207-209. 
  5. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “อบเชยจีน”.  หน้า 642. 
  6. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “อบเชย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [29 ก.ค. 2014]. 
  7. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “อบเชยเทศ”, “อบเชยต้น (เชียด)”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [29 ก.ค. 2014].
  8. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “เชียด, ม้าสามเอ็น, อบเชยไทย, อบเชยต้น”.  อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 6 (ก่องกานดา ชยามฤต).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [29 ก.ค. 2014]. 
  9. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  “เชียด, อบเชยต้น”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com.  [29 ก.ค. 2014]. 
  10. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  “อบเชย”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/pattani_botany/.  [29 ก.ค. 2014]. 
  11. หนังสือสารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย.  (วุฒิ วุฒิธรรมเวช).  “อบเชย”.  หน้า 195. 
  12. ไทยเกษตรศาสตร์.  “อบเชย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com.  [29 ก.ค. 2014]. 
  13. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “อบเชย”.  (นพพล เกตุประสาท).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th.  [29 ก.ค. 2014]. 
  14. สมุนไพรเพื่อสุขภาพ.  “อบเชยจีนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: herb-to-health.blogspot.com.  [29 ก.ค. 2014].