ชา
  ชื่อสามัญภาษาไทยชา
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษTea, Thea
  ชื่อวิทยาศาสตร์Camellia sinensis (L.) Kuntze
  ชื่อพ้องชาสมุนไพร
  ชื่อวงศ์Theaceae
  ชื่อท้องถิ่นเมี่ยง เมี่ยงป่า (ภาคเหนือ), ชา (ภาคกลาง), ลาบ่อ (อาข่า), นอมื่อ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), แต๊ (จีนแต้จิ๋ว), ฉา (จีนกลาง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ต้นชา เป็นพรรณไม้ขนาดย่อมจนถึงขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ตามกิ่งอ่อนมีขนปกคลุม

    ใบชา เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักเล็กๆ หรือเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน แผ่นใบหนาและเหนียว เรียบเป็นมัน คล้ายใบข่อยแต่จะยาวและใหญ่กว่า เส้นใบเป็นตาข่าย ส่วนก้านใบสั้น

    ดอกชา ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกส้มเขียวหวาน โดยดอกชาจะมีลักษณะใหญ่สีสวย ดอกเป็นสีขาวนวล และมีกลิ่นหอม ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 1-4 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่กลางดอกจำนวนมาก

    ผลชา เป็นผลแบบแคปซูล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออก ในหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-3 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมแบน หรือค่อนข้างกลม ผิวเมล็ดเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำหรือสีน้ำตาลอมแดง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-14 มิลลิเมตร

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบนำมาต้มเคี่ยวเอาน้ำกิน ช่วยกระตุ้นทำให้กระชุ่มกระชวย ไม่ง่วงนอน ทำให้ตาสว่าง กระตุ้นให้หายเหนื่อย
  • ใบช่วยแก้อาการปวดศีรษะ หน้ามืดตามัว
  • ใบชานำมานึ่งแล้วหมักกับเกลือ ทำเป็นคำ ๆ ใช้อม จะช่วยทำให้คอชุ่ม แก้อาการกระหายน้ำได้ดีมาก
  • ใบช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
  • ใบชามีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
  • รากชามีสรรพคุณช่วยกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น แก้โรคหัวใจบวมน้ำ
  • ใบช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • กิ่งและใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้หืด
  • ใบมีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมานใช้รักษาและลดอาการท้องร่วง
  • ใบใช้เป็นยาแก้บิด
  • ใบแห้ง ใช้ชงใส่น้ำตาล กินเป็นยารักษาอาการปวดท้อง
  • รากใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย
  • ใบช่วยในการย่อยอาหาร
  • รากและใบช่วยขับปัสสาวะ
  • รากช่วยแก้ตับอักเสบ
  • ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษ กิ่งและใบ นำมาชงแก่ ๆ ใช้รักษาอาการเป็นพิษของยาอันตรายที่กิ่งและใบเป็นอัลคาลอยด์ต่าง ๆ
  • รากมีสรรพคุณช่วยต้านเชื้อ แก้ปากเป็นแผล
  • กิ่งมีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล
  • ใบใช้เป็นชะล้างแผล สมานแผล แก้บวม

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ในส่วนของใบให้ใช้ใบแห้งประมาณ 3-10 กรัม หรือกะเอาตามสมควร นำมาชงกับน้ำรับประทาน
  • ส่วนรากให้ใช้รากแห้งประมาณ 30-50 กรัม
  • ส่วนอีกวิธีระบุให้ใช้ใบแห้งประมาณ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน 1-2 แก้ว ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที นำมาจิบบ่อย ๆ ดื่มต่างน้ำ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://medthai.com/ชา/
  2. https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3613/herbal-tea-ชาสมุนไพร
  3. https://www.samunpri.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B2/