ไทรใบแหลม
  ชื่อสามัญภาษาไทยไทรใบแหลม
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษGolden Fig, Weeping Fig, Weeping or Java Fig, Weeping Chinese Bonyan, Benjamin Tree, Benjamin’s fig, Ficus tree
  ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus benjamina L.
  ชื่อพ้องไทรพัน (ลำปาง), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไฮ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ), จาเรย (เขมร), ไซรย้อย
  ชื่อวงศ์Moraceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ไทรใบแหลมเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร สามารถสูงได้ถึง 30 เมตร ตามธรรมชาติ ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น

    ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมวงรี ปลายใบเรียวแหลม ใบมีขนาดยาว 6-13 เซนติเมตร ผิวเป็นมัน

    ดอกช่อ เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปร่างกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่ที่ซอกใบ แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน มีสีเหลืองหรือน้ำตาล ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน

    ผลแบบมะเดื่อ ทรงกลมขนาด 5-8 มิลลิเมตร ออกเป็นคู่หรือเดี่ยวตามซอกใบ ผลสุกสีส้มแดงเข้ม เมล็ดเล็กๆจำนวนมาก ออกผลในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน

สรรพคุณทั่วไป

ตำรายาไทยใช้
  • รากอากาศ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย)
  • ผลของต้นไทรยังเป็นอาหารของนกหลายชนิดอีกด้วย

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ไทรย้อย”. หน้า 384.
  2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ไทรย้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [03 ธ.ค. 2014].
  3. ไขปริศนา พฤกษาพรรณ, ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ไทรย้อยใบแหลม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/. [03 ธ.ค. 2014].
  4. Saunmitpranee. “ต้นไทร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.saunmitpranee.com. [03 ธ.ค. 2014].
  5. หนังสือพิมพ์มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 530, วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. (ผศ. วรรณา กัลยาณะวงศ์ ณ อยุธยา). “ไทรย้อยใบแหลม พันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคล : กรุงเทพมหานคร”.
  6. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ไทรย้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [03 ธ.ค. 2014].