ยูคาลิปตัส
  ชื่อสามัญภาษาไทยยูคาลิปตัส
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษEucalyptus
  ชื่อวิทยาศาสตร์Eucalyptus globulus Labill.
  ชื่อพ้องEucalyptus gigantea Dehnh., Eucalyptus glauca A.Cunn. ex DC., Eucalyptus globulosus St.-Lag., Eucalyptus globulus subsp. globulus, Eucalyptus maidenii subsp. globulus (Labill.) J.B.Kirkp., Eucalyptus perfoliata Desf., Eucalyptus pulverulenta Link)
  ชื่อวงศ์Myrtaceae
  ชื่อท้องถิ่นโกศจุฬารส (ไทย) หนานอัน อันเยี๊ยะ (จีน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ยูคาลิปตัสจัดเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-25 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบค่อนข้างกลม แตกกิ่งก้านมากลำต้นตั้งตรง เปลือกเป็นมันบางเรียบ ลอกออกง่ายเป็นแผ่นบางๆ มีสีน้ำตาลอ่อนปนขาว หรือสีเทาสลับสีขาวและสีน้ำตาลแดง ส่วนกิ่งก้านเล็กเป็นเหลี่ยม 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงสลับ เป็นรูปหอกปลายใบแหลม กว้าง 0.5-0.8 นิ้ว ยาว 3-12 นิ้ว ใบเป็นสีเขียวอ่อนหม่นๆ ทั้งสองด้าน ใบห้อยลงมีเส้นใบมองเห็นได้ชัด มีก้านใบยาว 2 เซนติเมตร 

ดอก ออกเป็นเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ซึ่งจะมีประมาณ 2-3 ดอก โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลสงของดอกประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีเกสรเพศผู้หลายก้าน 

ผล มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม คล้ายรูปถ้วยแต่ตรงปลายผลจะแหลมเปลือกผลหนามีรอยเส้นสี่เหลี่ยม 2 เส้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.8-2 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และปลายผลจะแยกออก

สรรพคุณทั่วไป

  • แก้ไข้
  • แก้หวัด
  • แก้ติดเชื้อ
  • แก้ไข้หวัดใหญ่
  • แก้บิด
  • แก้ลำไส้อักเสบ
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยลดอาการข้ออักเสบ
  • แก้โรคกลากเกลื้อน
  • แก้ผดผื่นคัน
  • แก้ฝีหนองต่างๆ
  • ช่วยแก้ไอ
  • ช่วยขับเสมหะ
  • แก้หวัดคัดจมูก
  • แก้วิงเวียน
  • แก้ฟกช้ำดำเขียว

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้เป็นยาเย็น แก้ไข้ แก้หวัด ไข้หวัดใหญ่ แก้บิด ลำไส้อักเสบ ข้ออักเสบ ขับเสมหะ โดยใช้ใบแห้ง 10-15 กรัม มาต้มกับน้ำดื่ม หรือบดชงกับน้ำร้อนดื่มก็ได้ 
  • ใช้รักษาโรคผิวหนังต่างๆ เช่น กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน ฝีหนอง โดยใช้ใบสด 18-30 กรัม มาตำให้แหลกใช้พอกบริเวณที่เป็น 
  • ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ โดยใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด 0.5 มิลลิลิตร รับประทานหรือหยดในน้ำอุ่นดื่มก็ได้ 
  • ใช้แก้อาการหวัดคัดจมูก โดยใช้น้ำมันยูคาลิปตัส สักเล็กน้อย มาเจือจาง ในน้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันโจโจ้บาแล้วนำมาสูดดมหรือใช้อมก็ได้ 
  • ใช้แก้ปวดเมื่อย ปวดบวม แก้อาการฟกช้ำดำเขียว โดยใช้น้ำมันยูคาลิปตัสมาทาถูนวดบริเวณที่เป็น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. วิทยา บุญวรพัฒน์. “ยูคาลิปตัส”. หนังสือสารานุกรมไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 468.
  2. รศ.ดร. วีณา จิรัจฉริยากูล. กลิ่นหอม บำบัดโรค. คอลัมน์บทความพิเศษ. นิตยาสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 248. ธันวาคม 2542.
  3. ฤทธิ์ไล่ยุงจากน้ำมันหอมระเหยจากกระเพา สาระแหน่ ฝรั่ง ยูคาลิปตัส และเนียมหูเสือ. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. ภานุมาศ จันทร์สุวรรณ. วารสาร อวพช. มีนาคม 2551. หน้า 40.
  5. ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ acetylcolinesterase ของน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์ Myrtaceae. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. นันทิยา จิตธรรมมา. 2549. ประสิทธิภาพในการเป็นสารกำจัดแมลงของน้ำมันหอมระเหยจากใบยูคาลิปตัส (Eucalyptus camaldulensis Dehnh) ต่อหนอนกระทู้ผัก(Spodoptera litura Fabricius). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,นครปฐม.
  7. เปรียบเทียบผลของการสูดดม ยูคาลิปตัสและหอมแดงด้ายไอน้ำร้อนต่อการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคหวัด. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. วันดี กฤษณพันธ์.2536. เภสัชวินิจฉัย: ยา และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เล่ม 2 มหาวิทยัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร. 403 หน้า
  9. ยูคาลิปตัส. กลุ่มสมุนไพรไล่ยุงหรือแมลง. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฯ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants.data/herbs/herbs_25_2.htm