เลี่ยน
  ชื่อสามัญภาษาไทยเลี่ยน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษUmbrella china berry, Bestard Cedar, Bead tree, Pride ofIndica, Persian Lilac, China tree
  ชื่อวิทยาศาสตร์Malia azeedarach Linn.
  ชื่อวงศ์Meliaceae
  ชื่อท้องถิ่นเซี่ยน, เคี่ยน (ภาคเหนือ), เลี่ยนใบใหญ่, เกษมณี, เลี่ยนดอกม่วง (ภาคกลาง, ทั่วไป), ชวนเลี่ยนจื่อ (จีนกลาง) ชวนเลี่ยนจี้ (จีนแต้จิ๋ว)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

     เลี่ยนจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับสะเดา ลำต้นเปล่าตรง สูง 10-30 ม. ทรงพุ่มกลม ค่อนข้างโปร่ง โดยมีขนาดทรงพุ่ม 6-8 ม. เป็นไม้ที่เจริญเติบโตเร็ว เปลือกต้นสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็นร่องตามแนวยาว กิ่งก้านมีสีเขียว กิ่งแก่มีสีม่วง ไม่มีขน กระพี้มีสีขาว แกนมีสีน้ำตาลอ่อน

    ใบมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม ทั้งนี้เลี่ยนพันธุ์เล็กใบจะมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4.5 เซนติเมตร ส่วนเลี่ยนพันธุ์ใบใหญ่ จะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร

    ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งยาว 20-30 ซม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยม โคนเชื่อมต่อกันเป็นรูปถ้วยลายแยก 5-6 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน ปลายมน และโค้งไปข้างหลัง มีสีชมพูหรือขาวอมม่วงอ่อน มีกลิ่นหอม โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-2.5 ซม. และมีเกสรเพศผู้มีสีม่วงเชื่อมติดกันเป็นหลอด 10 อัน ออกดอกเดือน ธ.ค.-เม.ย.

    ผลมีลักษณะกลมรี ยาวได้ประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวมีรสฝาด ส่วนผลสุกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลเหลือง ภายในผลจะแบ่งออกเป็น 4-5 ช่อง และในแต่ละช่องจะมีเมล็ดรูปเหลี่ยมสีดำอยู่ 1 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • ใช้ขับพยาธิ
  • แก้ไข้
  • แก้โรคเรื้อน และฝีคันทะมาลา
  • รักษาเหา
  • แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน
  • แก้โรคผิวหนัง
  • ใช้บำรุงไฟธาตุขับปัสสาวะ
  • ขับระดูในสตรี
  • บำรุงโลหิต
  • ใช้พอกแผล
  • แก้น้ำร้อนลวก
  • แก้โรคเรื้อน
  • ทำให้เจริญอาหาร
  • ช่วยบำรุงร่างกาย
  • แก้ม้ามโต
  • แก้ปวดในข้อ
  • แก้นิ่ว
  • แก้ปวดศีรษะ ปวดประสาท  
  • ช่วยคลายเครียด
  • แก้ร้อนใน
  • ใช้รักษาอาการปวดบริเวณใต้ชายโครงและปวดท้อง
  • ใช้รักษาอาการไส้เลื่อน อัณฑะปวดบวม

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้ขับพยาธิหากเป็นพยาธิตัวกลมในเด็กเล็ก ใช้เปลือกต้นหรือเปลือกราก 3 กรัม ต้นน้ำดื่ม  แต่หากเป็นพยาธิปากขอ ใช้เปลือกต้น 600 กรัม ใส่น้ำ 3,000 มล. ต้มให้เหลือ 600 มล. และใช้เปลือกผลทับทิม 25 กรัมเติมน้ำ 300 มล. ต้มให้เหลือ 120 มล. นำทั้งสองมาผสมกัน กินครั้งละ 30 มล.
  • ใช้แก้โรคเรื้อนขับพยาธิตัวกลม โดยใช้ผลแห้ง 15-20 กรัมมาต้นน้ำดื่ม
  • ช่วยบำรุงโลหิต ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว โดยใช้ใบสดมาคั้นเอาน้ำดื่ม
  • ใช้เป็นยาทำให้อาเจียน โดยใช้เปลือกต้นหรือเปลือกรากมาต้มกับน้ำดื่ม
  • แก้อาการปวดศีรษะ ปวดประสาท โดยการนำใบและดอกมาตำพอกศีรษะ
  • ใช้แก้ผื่นคัน ปวดฟัน โดยใช้เปลือกต้น ต้มน้ำชะล้างหรือใช้บ้วนปาก
  • ใช้แก้หิด โดยใช้เปลือกต้นและกิ่งเผาเป็นเถ้า ผสมน้ำมันหมูทา

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  “เลี่ยน”.  หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  หน้า 703-705.
  2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์.ก่อนกานดา ชยามฤต. ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ (คณะบรรณาธิการ).ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตตินันทน์.ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2544.) สำนักวิชาการป่าไม้.กรมป่าไม้.พิมพ์ครั้งที่2 กรุงเทพมหานคร.บริษัท ประชาชน จำกัด,2544.
  3. พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ.  หน้า 170.หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  “เลี่ยน”.
  4. สุนทรี  สิงหบุตรา.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด .พิมพ์ครั้งที่1 กรุงเทพมหานคร.โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.2536.
  5. วิทยา บุญวรพัฒน์.  “เลี่ยน”.  หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  หน้า 504.
  6. พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ.สมุนไพรก้าวใหม่.พิมพ์ครั้งที่2 กรุงเทพมหานคร.บริษัท เมติคัล มีเดีย จำกัด 2537.
  7. ฤทธิ์เป็นพิษกับเซลล์ของสารลิโมนอยด์จากต้นเลี่ยน .ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  8. ธาตรี ผดุงเจริญ,สุชาดา สุขหร่อง.พืชสมุนไพรจากดอกไม้สีม่วง...ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.หน้า48-49
  9. ผลเลี่ยน.คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน.กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและกรมแพทย์ทางเลือก กระทรวงศาสตร์สุข พ.ศ.2557.หน้า133-135
  10. สถาบันวิจัยสมุนไพร.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือฐานข้อมูลพืชพิษ กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์กรมการศาสนา 2545.
  11. ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  “เลี่ยน”.  หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  หน้า 703-705.
  12. ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของสารสกัดจากผลเลี่ยน (Melia azedarach) .ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  13. เลี่ยน.กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน.สรรพคุณสมุนไพร200ชนิด.โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_21_2.htm