กลอย
  ชื่อสามัญภาษาไทยกลอย
  ชื่อวิทยาศาสตร์Dioscorea hispida Dennst.
  ชื่อวงศ์Dioscoreaceae
  ชื่อท้องถิ่นกลอยนก, กอย (ภาคเหนือ) ; คลี้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; กลอย, มันกลอย (ทั่วไป) ; กลอยข้าวเหนียว, กลอยหัวเหนียว (นครราชสีมา)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    กลอยเป็นไม้เถาล้มลุก (HC) หัวใต้ดินลักษณะกลม บางทีเป็นพูหรือยาว เปลือกบางมีสีฟางหรือเทา เนื้อในหัวมีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนอมเขียว เป็นพิษ ลำต้นเหนือดินสีเขียวลักษณะกลมมีหนามเล็ก ๆ กระจายไปทั่วและมีขนนุ่มๆ ปกคลุม เลื้อยไปตามพื้นดินหรือต้นไม้อื่น มีกิ่งก้านออกตรงเถา

    ใบ เป็นใบประกอบ ออกใบเรียงสลับกัน ผิวใบสากมือ มีขนนุ่ม ๆ ปกคลุม ใบกว้าง 3-5 ซม. และยาวประมาณ 8-10 ซม. มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยตรงกลางมีลักษณะเป็นรีรูปรี หรือใบรีรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเป็นขนครุย โคนใบแหลมเป็นรูปลิ่ม เส้นใบเรียงตามยาว 3-5 เส้น ใบย่อย 2 ข้าง มีลักษณะเป็นใบรูปไข่กลับหรือรูปหัวใจเบี้ยว ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบโคนใบมน ใบกลมสั้นกว่าใบกลาง ก้านใบกลางลักษณะกลมและมีขน ก้านใบแก่มีหนามหัวท้ายโป่งเล็กน้อย

    ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเล็กสีเขียว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกเพศผู้ดอกตั้งขึ้นมีใบประดับติดอยู่ที่ฐานลักษณะคล้ายถุง ปลายแหลม ดอกเพศเมียเป็นช่อชั้นเดียวเดี่ยว ๆ ดอกชี้ลงดิน

    ผล รูปคล้ายน้ำเต้าคอชะลูดหรือคล้ายผลมะเฟือง แต่ละพูมี 1 เมล็ด ผิวเกลี้ยงสีน้ำผึ้ง มีปีก เมื่อแก่แตกได้เอง

    เมล็ด ลักษณะกลมแบน มีปีกบางใสรอบเมล็ด
สรรพคุณทั่วไป

  • ตำรายาไทย  ใช้  หัวใต้ดิน แก้เถาดาน (อาการแข็งเป็นลำในท้อง) หุงเป็นน้ำมันใส่แผล กัดฝ้า กัดหนอง  ราก บดผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใบยาสูบ ใบลำโพงหรือพริก ใช้ทาหรือพอกฆ่าหนอนในแผลสัตว์เลี้ยง หัว ตากแห้ง ปรุงเป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ แก้ปวดตามข้อ ฝีมะม่วง โรคซิฟิลิส 
  • ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา  ใช้  หัวใต้ดิน หั่นเป็นแผ่นบางๆปิดบริเวณที่มีอาการบวมอักเสบ

 
สรรพคุณเฉพาะส่วนของสมุนไพร
 
  หัวกัดเถาคานในท้อง มีพิษทำให้คลื่นไส้ อาเจียน
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=10
  2. https://prayod.com/กลอย
  3. https://www.thclpn.go.th/home/สมุนไพรกลอย