อัญชัน
  ชื่อสามัญภาษาไทยอัญชัน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษBlue Pea, Butterfly Pea
  ชื่อวิทยาศาสตร์Clitoria ternatae L.
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นแดงชัน (เชียงใหม่), เอื้องชัน (ภาคเหนือ)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

อัญชันเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ยาว 1-5 เมตร 

ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-9 ใบ รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. 

ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีน้ำเงิน ม่วงหรือขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว 

ผลเป็นฝัก รูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต จำนวน 6-10 เมล็ด


สรรพคุณทั่วไป

  • น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  • เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
  • มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
  • ชดอกชมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
  • ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
  • ช่วยรักษาอาการผมร่วง 
  • อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกดำเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
  • ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
  • ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
  • อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
  • ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ 
  • ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน 
  • ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  • นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู 
  • นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง 
  • ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ 
  • ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ 
  • แก้อาการปัสสาวะพิการ
  • ใช้แก้อาการฟกช้ำ 
  • ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
  • นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
  • ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
  • ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผัก เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
  • น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน 
  • ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น 
  • ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 
  2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 
  3. www.rspg.or.th
  4. เว็บไซต์เมดไทย (MedThai)