กระท้อน
  ชื่อสามัญภาษาไทยกระท้อน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSentul, Santol, Red sentol, Yellow sentol
  ชื่อวิทยาศาสตร์Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr.
  ชื่อพ้องAzedarach edule Noronha, Melia koetjape Burm.f., Sandoricum indicum Cav., Sandoricum maingayi Hiern, Sandoricum nervosum,Sandoricum ternatum Blanco.
  ชื่อวงศ์Meliaceae
  ชื่อท้องถิ่นมะตื๋น (ภาคเหนือ), มะต้อง (พะเยา, แพร่, น่าน), เตียน, ล่อน (ภาคใต้), สะตู, สะเตียง (นราธิวาส), สะโต (ปัตตานี), บักกะท้อน (อิสาน), สะท้อน (อุบลราชธานี)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    กระท้อนไม้ มีต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ แตกกิ่งต่ำ ปลายกิ่งลู่ลง ลำต้นเปลาตรง โคนมักเป็นพอน และแตกล่อนเป็นสะเก็ดใหญ่ๆ เป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลอ่อน ด้านในมีสีอมชมพู ค่อนข้างเรียบยางมีสีขาว

    ใบ เป็นใบประกอบเรียงสลับ ดอกเรียงตัวเป็นเกลียว ใบย่อยแยกเป็น 3 ใบ รูปไข่แกมรูปขอบขนานแกมรี ขอบใบเรียบ กว้าง 6-15 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโค้งมน ใบอ่อนมีขนสีเหลืองอ่อนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่สีเขียวเข้มแต่ใบแก่เมื่อแห้งมีสีส้มแดง

    ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว 4-16 ซม. มีขนสีเหลือง ดอกมีจำนวนมากขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลือง กลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 4-5 มม. แยกกัน เกสรเพศผู้ยาวประมาณ 3 มม. มี 10 อัน ติดกันเป็นหลอด อับเรณูติดอยู่ภายในหลอด

    ผลใหญ่ กลมแป้น ฉ่ำน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-10 ซม. เปลือกมีขนนุ่ม เนื้อหนานุ่ม มียางสีขาว ผลเป็นแบบผลเนื้อลักษณะกลมแป้น ขนาด 5-8 ซม. หรือมีขนาดใหญ่ได้ถึง 20 เซนติเมตร ผิวเป็นกำมะหยี่สีเหลืองอมส้ม ภายในแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เนื้อแข็งด้านนอก  และด้านในเนื้อนุ่มเป็นปุยสีขาวที่หุ้มเมล็ดไว้ เปลือกหนา  มียางสีขาวเล็กน้อย ผลสุกสีเหลืองนวลหรือสีแดงส้ม  ผิวเริ่มย่น ด้านในผลมีเมล็ด  3-5 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นปุยสีขาวมีรสเปรี้ยวหรือหวาน

สรรพคุณทั่วไป

  • รักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน
  • แก้ท้องเสีย
  • แก้พิษงู 
  • ขับเหงื่อ
  • ช่วยลดไข้
  • แก้ฝาดสมาน
  • ใช้ขับลม
  • ช่วยดับพิษร้อน
  • ช่วยถอนพิษไข้
  • แก้บิดมูกเลือด
  • แก้ไข้รากสาด
  • แก้พิษกาฬ
  • แก้บวม
  • แก้ฝี
  • ช่วยขับพยาธิ

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ โดยใช้รากสดหรือรากแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำรากสดมาตำใส่น้ำผสมกับน้ำส้มสายชูเล็กน้อย แล้วนำไปดื่ม 
  • ใช้แก้ไข้ แก้ท้องเสีย โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม 
  • ใช้ขับพยาธิและแก้บวม โดยใช้เนื้อผลมารับประทานสด 
  • ใช้ขับเหงื่อ แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ใบ หรือเปลือกต้นมาต้มกับน้ำอาบ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. อุไร จิรมงคลการ. 2547. ผลไม้ในสวน. Fruits. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
  2. ภญ.กฤติยา ไชยนอก.อากาศร้อนๆ มากินกระท้อนกันเถอะ.บอกกล่าวเล่าเรื่องสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
  4. คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
  5. นันทวัน บุณยะประภัศร และอรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. สมุนไพร:ไม้พื้นบ้าน (1). กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชนจำกัด; 2539.
  6. ทวีศักดิ์ ด้วงทอง,2518 ชนิดและพันธุ์ไม้ผลเมืองไทย เอกสารวิชาการที่47 กรมส่งเสริมการเกษตรจตุจักร กทม.
  7. พิษต่อปลาและฤทธิ์ป้องกันมะเร็งของเปลือกต้นกระท้อน.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  8. วราพงษ์ ฤาชา.สถาพร ศรีพลพรรค.2522 รายงานการศึกษาเรื่องสภาพการปลูกกระท้อนในจังหวัดนนทบุรี งานพืชสวนฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสำนักงานส่งเสริมการเกษตร ภาคกลาง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
  9. กระท้อน.ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก ⦁ http://www.phargerden.com/mainphp?action=viewpage⦁ &⦁ pid=306
  10. Jafaria SF, Khadeer Ahameda MB, Iqbalb MA, Al Suedea FSR, Khalidc SH, Haqueb RA และอื่น ๆ ความสามารถในการละลายน้ำที่เพิ่มขึ้นและกิจกรรม proapoptotic ของโพแทสเซียม koetjapate ต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักของมนุษย์ เจ Pharm Pharmacol 2014;66(10):1394-409.
  11. Tanaka T, Koyano T, Kowithayaakorn T, Fujimoto H, Okuyama E, Hayashi M, และคณะ กรดไตรเทอร์พีนอยด์ชนิดมัลติฟลอเรนชนิดใหม่จากSandoricum indicum เจ แนท โปรด 2001;64(9):1243-5.
  12. แทกกิลิง NK, แทกกิลิง MLG สารฆ่าแมลงอินทรีย์ที่มีผงผลไม้แซนโดริคัม ใช้รุ่น Appl 2014, PH 2201200451 Z 20141027.
  13. Rasadah MA, Khozirah S, Aznie AA, Nik MM. Anti-inflammatory agents from Sandoricum koetjape Merr. Phytomedicine. 2004; 11(2-3):261-3.
  14. Ismail IS, Ito H, Mukainaka T, Higashihara H, Enjo F, Tokuda H และอื่น ๆ พิษต่อ Ichthyotoxic และฤทธิ์ต้านมะเร็งของ triterpenoids จากเปลือกSandoricum koetjape จิตเวช Pharm Bull 2003;26(9):1351-3.
  15. Wanlapa S, Wachirasiri K, Sithisam-ang D, Suwannatup T. ศักยภาพของเปลือกผลไม้เมืองร้อนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเส้นใยอาหารในอาหารเพื่อสุขภาพ Int J อาหารผลิตภัณฑ์ 2015;18(6):1306-16.
  16. Nassar ZD, Aisha AFA, Al Suede FSR, Majid ASA, Abdul Majid AMS และคณะ ฤทธิ์ต้านการออกฤทธิ์ของกรดโคเอตจาปิกในหลอดทดลองต่อเซลล์มะเร็งเต้านม จิตเวช Pharm กระทิง 2012;35(4):503-8.
  17. แทกกิลิง NK, แทกกิลิง MLG กรรมวิธีการผลิตยาฆ่าแมลงอินทรีย์จากผลแซ นโดริคัม Philipp Util รุ่น Appl 2014, PH 2201200450 Z 20141205