|
ชื่อสามัญภาษาไทย | ตาตุ่ม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Excoecaria agallocha L. |
ชื่อวงศ์ | Euphorbiaceae |
ชื่อท้องถิ่น | ตาตุ่ม (กลาง); บูตอ (มลายู-ปัตตานี) |
ตาตุ่มเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก-กลาง สูง 10-18 เมตร มียางสีขาว ส่วนมากลำต้นจะตรง มักแตกกิ่งในระดับต่ำ บางครั้งดูคล้ายไม้พุ่ม เปลือกเรียบถึง แตกเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเทา กิ่งอ่อนมีช่องอากาศเล็กๆ (วรรค)เด่นชัด รากหายใจแผ่กระจายไปตามผิวดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือ รูปไข่แกมรี ถึงรูปไข่กลับ ขนาด 2-5 x 4-9 ซม. ปลายใบกลม ถึงเว้าตื้นๆ หรือเรียวแหลมมน ฐานใบมน ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน แผ่นใบนิ่มคล้ายหนัง มีสีเขียวเป็นมัน และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ เมื่อใบใกล้ร่วง ก้านใบเรียว ยาว 1-2.5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นเป็นช่อเชิงลด ดอกมีขนาดเล็กมาก ติดกันเป็นกระจุกช่อดอกเพศผู้มีสีเหลืองแกมเขียว ยาว 5-10 ซม. ช่อดอกเพศเมียสั้น 2-3 ซม. ผล เป็นแบบผลแห้งแตก มี 3 พู รูปเกือบกลม ขนาด 0.5-0.7 x 0.3-0.4 ซม. ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ผลเกลี้ยง สีเขียวถึงน้ำตาลเข้ม เมล็ดเกือบกลม สีดำออกดอกผลเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน พบทั่วไปในป่าชายเลน ตามริมแม่น้ำที่พื้นที่สูง ดินเหนียวปนทรายค่อนข้างแข็งและน้ำท่วมถึงเมื่อน้ำขึ้นสูง ยางของไม้ตาตุ่มทะเลมีพิษ หากเข้าตาอาจจะทำให้ตาบอดได้ หรือหากกินเข้าไปจะทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง หรือหากยางนี้ถูกตามผิวหนังอาจจะทำให้เกิดอาการเป็นผื่นคัน หรือบวมได้ | |
| |
|