โปร่งฟ้า
  ชื่อสามัญภาษาไทยโปร่งฟ้า
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษAndaman satinwood
  ชื่อที่เกี่ยวข้องลอดฟ้า
  ชื่อวิทยาศาสตร์Murraya siamensis Craib
  ชื่อวงศ์Rutaceae
  ชื่อท้องถิ่นโปร่งฟ้า (ปราจีนบุรี) ลอดฟ้า (ภาคกลาง นครราชสีมา)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ต้นโปร่งฟ้า เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 2-4 ฟุต

    ใบโปร่งฟ้า รูปไข่ปลายแหลม สีเขียวออกเหลือง ขอบจักแบบฟันเลื่อย มีต่อมน้ำมันกระจายทั่วทั้งใบส่องดูจะเห็นเป็นจุด ๆ ทั้งใบ

    ดอกโปร่งฟ้า เล็ก ๆ สีขาวอมเขียวคล้ายดอกสะเดา มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อตั้งที่ปลายกิ่ง เกิดตามป่าดงดิบแล้ง ป่าละเมาะทั่วประเทศ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบโปร่งฟ้า มีรสหอมหวาน รสเผ็ดร้อน แก้ผื่นคัน แก้พิษตะขาบ ห้ามเลือด ขยี้พอกที่แผลสด แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ไอเจ็บคอ ขับลม ท้องอืด แก้หวัด
  • แก้ไซนัส ภูมิแพ้ หอบหืด บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง คลายกล้ามเนื้อ นอนกรน ลดไขมันในเลือด ความดันโลหิตสูง ลิ้นกระด้างคางแข็งเนื่องจากอัมพาตชั่วคราวระยะไม่เกิน 24 ชม เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ถอนพิษคาเฟอีนจากกาแฟ แก้หวัด ขยี้พอแหลก ห่อผ้าอ้อมวางห่างจมูก 1 คืบ สำหรับเด็กอ่อน (ใช้เพียง 1 ก้าน+ใบเท่านั้น)
  • แก้ไซนัส ใช้ใบม้วนกับต้นกระเทียมตากแห้งม้วนด้วยใบโปร่งฟ้าสูบวันละ 7-8 มวน 1 ใบ ต่อ 1มวน ใช้ระยะเวลา 7-8 วันก็จะหาย รากจะหลุดออกมาทั้งยวง
  • แก้ไอเจ็บคอ ภูมิแพ้ บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง ลดไขมันในเลือด (ต้มดื่มทั้งวัน ระยะเวลา 1 เดือน ไขมันลดกว่า 100 กว่า) ความดันโลหิตสูง ให้ผู้ป่วยนำโปร่งฟ้าไปใช้อย่างเดียวไม่ให้ใช้รวมกับยาแผนปัจจุบัน จะได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก โดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
  • ผลสุก 3-5ผล เคี้ยวแก้อัมพฤกษ์-อัมพาต แก้ท้องอืด ขับลม ดอกโปร่งฟ้า ฆ่าเชื้อโรค แผลเรื้อรัง ไส้ลาม ไส้ด้วน
  • รากโปร่งฟ้า รสเฝื่อนเย็น แก้ตามัว ตาฝ้า ตาฟาง ฝนกับน้ำ กินและทาแก้พิษงู แก้วัณโรคชนิดบวม แก้โรคหิตในลำคอและลำไส้ให้กระจาย แก้ริดสีดวง

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

ผลสุก 3-5 ผล เคี้ยวแก้อัมพฤกษ์-อัมพาต แก้ท้องอืด ขับลม
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://phanomsarakhamhospital.com/phpBB3/viewtopic.php?f=7&t=55075
  2. http://medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=7137
  3. http://www.royalparkrajapruek.org/Plants