พุทรา
  ชื่อสามัญภาษาไทยพุทรา
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษJujube หรือ Chinese Date
  ชื่อวิทยาศาสตร์Ziziphus mauritiana Lam.
  ชื่อวงศ์Rhamnaceae
  ชื่อท้องถิ่น(ภาคกลาง) ; มะตัน (ภาคเหนือ) ; มะท้อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ; มั่งถั่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; หมากขอ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พุทราเป็นไม้ยืนต้นสูง ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม แหลมคมโค้งมีความสูงประมาณ 10 เมตร 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตามกิ่งก้าน ลักษณะใบรูปทรงกลม ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวสดผิวเรียบ และมีเส้นแขนงมองเห็นชัดเจน ท้องใบเป็นพรายปรอทหม่น ผิวสาก ก้านใบสั้น 

ดอก ออกดอกเป็นช่อ มีสีเหลือง ตามซอกใบ ผล ลักษณะรูปทรงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 5-10 มม. 

ผลมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองส้มออกแดง มีเมล็ดอยู่ภายใน 1 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • พุทรามีสรรพคุณทางยาคือ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ และเป็นยาระบาย 
  • ส่วนที่นำมาใช้ เช่น เปลือกลำต้น ใช้ต้มกินแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย ท้องร่วง แก้อาเจียน 
  • ใบนำมาตำสดๆ ใช้สุมศีรษะแก้อาการเป็นหวัดคัดจมูก 
  • ผลดิบมีรสฝาด ใช้รักษาอาการไข้ 
  • ผลสุกกินเป็นผลไม้สดหรือแปรรูปด้วยการกวนหรือดองก็ได้

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • แก้ท้องร่วง จุกเสียด และอาเจียน โดยใช้เปลือกต้นสดและใบ 10-20 กรัม นำมาต้มในน้ำเดือด กรองเอาน้ำดื่ม เช้า-เย็น หรือจนกว่าจะหาย 
  • แก้หวัด คัดจมูก ในตอนเย็นๆ ให้ใช้ใบสด 10-15 กรัม นำมาโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาสุมศีรษะ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://arit.kpru.ac.th https://prayod.com/พุทรา
  2. https://www.matichonweekly.com/column/article_391025