ตำลึง
  ชื่อสามัญภาษาไทยตำลึง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษIvy gourd
  ชื่อวิทยาศาสตร์Coccinia grandis (L.) Voigt.
  ชื่อพ้องCoccinia indica Wight & Arn. , Coccinia cordifolia (L.) Cogn.
  ชื่อวงศ์Cucurbitaceae
  ชื่อท้องถิ่นตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง), ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ตำลึงจัดเป็นไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี เถาแก่ของตำลึงจะใหญ่และแข็ง เถาตำลึงจะมีลักษณะกลม สีเขียว ตามข้อมีตำลึงจัดเป็นเอาไว้ยึดเกาะ 

ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบรูปร่างคล้าย 5เหลี่ยม ขอบใบเว้าเล็กน้อย บางครั้งจะเว้ามากเป็น 5 แฉก ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ใบสีเขียวเรียบไม่มีขนของใบมีต่อมคายน้ำ ก้านใบยาว 3-6 เซนติเมตร 

ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกจากบริเวณซอกใบ ดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้น ดอกมีกลีบสีเขียว ปลายดอกแยกออกเป็น 5แฉก โคนตัดกันเป็นกรวย กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้มี 3อัน เกสรตัวเมียมี 1อัน 

ผลรูปร่างกลมรีคล้ายแตงแต่เล็กกว่า กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาว ประมาณ 5 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียว มีสายขาวๆ เมื่อแก่สุกจัดมีสีแดง หรือแดงอมส้มเนื้อในสีแดงและมีเมล็ดหลายเมล็ดข้างในลักษณะแบนสี ขนาด 2-3 เซนติเมตร

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบ รสเย็น ใบของต้นเพศผู้ใช้ผสมเย็นยาเขียว ช่วยลดไข้ ทาถอนพิษ ขับเสมหะ แก้คัน และปวดแสบปวดร้อน
  • ดอก รสเย็น โขลกเป็นยาทาแก้คัน แก้ไข้ทั้งปวง หยอดตาแก้ริดสีดวงตา
  • ผล รสเย็น แก้ไข้หอบ ไข้อีเสา และแก้ฝีดาษ
  • ต้นหรือเถา รสเย็น น้ำยางจากต้นเป็นยาเย็น ช่วยดับพิษ ใช้หยอดตา แก้อักเสบ ผสมกับน้ำคั้นจากว่านน้ำใช้ดื่มแก้อาการวิงเวียนมึนงงศีรษะ และลดไข้
  • ทั้งต้น (เถา ราก ใบ) รสเย็น นำมาใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง โรคเบาหวาน แก้หลอดลมอักเสบ และลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ราก รสเย็น น้ำต้มรากกินเป็นยาเย็น ลดไข้ ถอนพิษ และแก้อาเจียน เผาเป็นเถ้าใช้ทาแผล ผงของเปลือกรากรับประทานเป็นยาระบาย

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  3. www.gotoknow.org
  4. เว็บไซต์วิชาการดอตคอม
  5. www.prc.ac.th
  6. สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช)
  7. นิตยาสารหมอชาวบ้าน (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ), จากสารศิลปยาไทย (ฉบับที่ 68)