จามจุรีสีทอง
  ชื่อสามัญภาษาไทยจามจุรีสีทอง
  ชื่อวิทยาศาสตร์Albizia lebbeck (L.) Benth.
  ชื่อวงศ์Leguminosae
  ชื่อท้องถิ่นกาไพ/จ๊าขาม/จามจุรีสีทอง/มะขามโคก/มะรุมป่า
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    จามจุรีสีทอง หรือต้นพฤกษ์เป็นไม้ยืดต้นผลัดใบขนาดใหญ่ออกกิ่งก้านแผ่กว้างสามารถเป็นที่ร่มได้มีลำต้นสูงประมาณ 30 เมตร เปลือกนอกสีเทาแก่ ๆ จะมีความหยาบและขรุขระ แตกเป็นร่องยาว เปลือกในจะเป็นสีแดงเลือดนก

    ใบประกอบคล้ายรูปขนนกสองชั้น เรียงสลับมีก้านแขนงออกตรงข้ามกัน แผ่นใบย่อยเล็ก 2 – 5 คู่ ปลายใบมน โคนสอบและเบี้ยว

    ออกดอกเล็ก ๆ มีกลิ่นหอมในช่วงเช้าออกเป็นช่อกระจุกอยู่รวมกันจะออกดอกบริเวณซอกใบหรือไม่ก็ปลายกิ่ง มีก้านเกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เป็นเส้นฝอยและเป็นพู่โคนมีสีเขียว ปลายเกสรสีขาวอมเหลือง ซึ่งหนึ่งช่อจะมี 2-4 ช่อย่อย

    ออกผลเป็นฝักขอบขนานมีความแบนและบาง ปลายและโคนมนมีสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแกมเหลือง ผิวเกลี้ยงมีความเป็นมันเมื่อแห้งจะเป็นสีฟางข้าว

    มีเมล็ดแบนรีประมาณ 4 – 12 เมล็ดจะออกดอกประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน และออกผลเป็นฝักประมาณเดือนกันยายน – ธันวาคม   

สรรพคุณทั่วไป

เมล็ดและเปลือกจะมีรสฝาด จะนำมาเป็นยาสมาน เช่น รักษาแผลในปาก ในลำคอ เหงือกหรือฟันผุ ริดสีดวงทวารหนัก แก้ท้องร่วง ห้ามเลือดตก เมล็ดจะช่วยรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน ทำเป็นยารักษาเยื่อตาอักเสบ

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใบจะดับพิษร้อนทำให้เย็นขึ้น
  • ยอดอ่อน ช่อดอกอ่อน และฝักอ่อน นิยมนำกินเป็นผักสด ต้มกินกับน้ำพริกหรืออาหารรสจัดต่าง ๆ หรือใส่ในแกงเลียง แกงผักรวมใส่ปลาย่าง ยอดอ่อนมีรสมันช่วยเจริญให้อาหารคนในชุมชนมักเอามาทำกินกัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.1000maidee.com/ต้นพฤกษ์-จามจุรีสีทองไม/
  2. https://www.baanlaesuan.com/plants/perennial/137538.html