น้อยหน่า
  ชื่อสามัญภาษาไทยน้อยหน่า
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSugar apple, Sweetsop
  ชื่อวิทยาศาสตร์Annona squamosa L.
  ชื่อวงศ์Annonaceae
  ชื่อท้องถิ่นลาหนัง (ปัตตานี), หน่อเกล๊ะแซ (แม่ฮ่องสอน), มะนอแน่ มะแน่ (ภาคเหนือ), หมักเขียบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

น้อยหน่าเป็นไม้ยืนต้น สูง 3-5 เมตร 

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. 

ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ หนาอวบน้ำ มีเกสรตัวผู้และรังไข่ จำนวนมาก 

ผลเป็นผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม ส่วนที่ใช้ : ใบสด หรือ เนื้อในเมล็ดสด

สรรพคุณทั่วไป

  • ผลดิบ รสเฝื่อน เป็นยาฝากสมานแผล ห้ามเลือด แก้โรคบิด โรคท้องร่วง และบำรุงธาตุ เป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง 
  • ผลแห้ง รสเฝื่อน แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู 
  • เมล็ด รสเมามัน ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ฆ่าเหา และแก้บวม 
  • เนื้อในเมล็ดใช้รับประทารขับเสมหะ 
  • เมล็ดโขลกผสมน้ำมันมะพร้าวทาฆ่าพยาธิผิวหนัง ฆ่าหิด ฆ่าเหา 
  • ราก รสเฝื่อน เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา รักษาโรคบิด 
  • ใบ รสเฝื่อนเมา โขลกพอกเป็นยาแก้ฟกบวม พอกฝี แผลพุพอง แก้กลากเกลื้อน ขับพยาธิลำไส้ หรือรับประทานฆ่าเชื้อโรคภายในร่างกาย เป็นยาแก้หัด ฆ่าเหา 
  • เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน เป็นยาสมานลำไส้ เป็นยาสมานแผล เป็นยาห้ามเลือด แก้ท้องร่วง แก้รำมะนาด แก้พิษงู เป็นยาบำรุงกำลัง 
  • ใบ, ผลดิบ, เมล็ด รสเฝื่อน เมามัน เป็นยาเบื่อปลา ยาฆ่าเหา และหิด เป็นยาฆ่าแมลง ผลสุกรสหวาน เป็นอาหารที่มีคุณค่าสำหรับคนหลังฟื้นไข้เนื่องจากเนื้อของผลอุดมไปด้วยวิตามินซี 
  • เปลือกผลดิบ รสเฝื่อนเมา ฝนกับสุรากลั่นทาแผลแก้งูกัด

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  2. www.rspg.or.th
  3. www.thaicrudedrug.com 
  4. www.lifestyle.iloveindia.com
  5. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช