|
ชื่อสามัญภาษาไทย | ตองแตก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh |
ชื่อพ้อง | Baliospermum axillare Blume, Baliospermum montanum (Willd.) Müll.Arg.) |
ชื่อวงศ์ | Euphorbiaceae |
ชื่อท้องถิ่น | นองป้อม ลองปอม (เลย), ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์), ทนดี (ตรัง), เปล้าตองแตก (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ถ่อนดี (ภาคกลาง), โทะโคละ พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ยาบูเวอ หญ้าโวเบ่อ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) |
ตองแตกเป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูงถึง 2 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปหอก รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ใบบริเวณโคนต้นมักมีขอบหยักเว้าเป็น 3-5 แฉก ปลายแฉกมน หรือแหลม ใบมีขนแข็งเอนทั้งสองด้าน ฐานใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย หรือหยักมน ดอก เป็นดอกย่อยแยกเพศ ดอกตัวผู้มีจำนวนมากอยู่ตอนบนของช่อ ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงสีเหลืองแกมเขียว 4-5 กลีบ ดอกตัวเมียออกที่โคนช่อ ไม่มีกลีบดอก ผล ผลค่อนข้างกลม ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู กลีบเลี้ยงติดทน และขยายตัวเมื่อติดผล | |
| |
| |
|