เอื้องหมายนา
  ชื่อสามัญภาษาไทยเอื้องหมายนา
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษWild ginger, Malay ginger, Spiral Flag, Crape ginger.
  ชื่อที่เกี่ยวข้องเอื้องเพชรม้า
  ชื่อวิทยาศาสตร์Costus speciosus (Koen) Sm.
  ชื่อพ้องcostus speciosus smith , Cheilocostus speciosus(J.Koenig) C.D.Specht.
  ชื่อวงศ์Annonaceae
  ชื่อท้องถิ่นเอื้อง (อุบลราชธานี), เอื้องช้าง (นครศรีธรรมราช), เอื้องต้น (ยะลา), เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง), เอื้องดิน เอื้องใหญ่ บันไดสวรรค์ (ภาคใต้), ซูแลโบ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ชู้ไลบ้อง ซูเลโบ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กู่เก้ง (ม้ง), ชิ่งก๋วน (เมี่ยน), ลำพิย้อก (ลั้วะ), ดื่อเหม้ (ยึ) (ปะหล่อง), จุยเจียวฮวย (จีน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    เอื้องหมายนาเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สูง 1-3 เมตร มักขึ้นเป็นกอ ลำต้นกลมฉ่ำน้ำ สีแดง รากเป็นหัวโตยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ไม่แตกกิ่งก้านสาขา

    ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบลำต้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 15-40 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน กาบใบอวบสีเขียว หรือสีน้ำตาลแดงโอบรอบลำต้น เส้นใบขนานกับขอบใบ ขอบใบเรียบ มีขนทุกส่วนของต้น ก้านใบสั้น หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนนุ่ม เนื้อใบหนา

    ดอกสีขาว มี 3 กลีบ ออกที่ปลายยอด เป็นรูปปากแตร ใจกลางดอกมีสีเหลืองอ่อนหรือสีชมพู ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกทยอยบานทีละ 1-2 ดอก ดอกย่อยสีขาว กลีบดอกบาง ย่น กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแผ่บานออกเป็นรูปปากแตร ขอบกลีบหยักเป็นลอนคลื่น บนช่อดอกมีกาบสีแดงรองรับดอกแต่ละดอก เกสรเพศผู้เปลี่ยนแปลงไปเหมือนกลีบดอกขนาดใหญ่ เป็นกรวย ปลายแผ่บานจีบน้อย ๆ สีขาว ปากขอบกรวยสีเหลือง กลีบเลี้ยงสีแดงเข้ม เป็นแผ่นแบน 3 กลีบ ขอบมน

    ผลรูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม แห้งแล้วแตก มีเนื้อแข็ง สุกสีแดง ปลายยอดมีกลีบเลี้ยง 1 หรืออยู่เป็นกระจุกแหลม 3 แฉก กาบหุ้มผลสีแดง เมล็ดสีดำเปนมัน พบขึ้นตามชายน้ำ และป่าดิบชื้น หน่ออ่อนที่งอกจากต้นในฤดูฝนใช้เป็นอาหารได้ แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อนเพื่อขจัดกลิ่น เมื่อนำมาต้ม หรือลวก ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก

สรรพคุณทั่วไป

ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี
  • ใช้ เหง้า ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงมดลูก สมานแผลภายใน เข้ายาแก้ซางเด็ก
  • ลำต้น ย่างไฟคั้นเอาน้ำหยอด แก้หูน้ำหนวก

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • คนเมืองจะใช้ลำต้นนำไปต้มกิน เชื่อว่าเป็นยาต้านโรคมะเร็ง
  • ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี จะใช้เหง้าเอื้องหมายนาเข้ายาแก้ซางเด็ก
  • ลำต้นนำมาย่างไฟคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู แก้หูน้ำหนวก
  • ส่วนชาวไทใหญ่จะใช้ใบนำไปรมไฟ แล้วบีบเอาน้ำมาหยอดหู รักษาโรคหูเป็นหนอง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=138