หนามพุงดอ
  ชื่อสามัญภาษาไทยหนามพุงดอ
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษAzima sarmentosa
  ชื่อวิทยาศาสตร์Azima sarmentosa (Blume) Benth. & Hook. f.
  ชื่อพ้องActegeton sarmentosum Blume Azima nova Blanco Azima scandens Baill. Monetia brunoniana Wall. Monetia laxa Planch. Monetia sarmentosa Baill. Salvadora madurensis Decne.
  ชื่อวงศ์Salvadoraceae
  ชื่อท้องถิ่นขี้แฮด (ภาคเหนือ) ปี๊ดเต๊าะ (ภาคเหนือ) พุงดอ (ภาคกลาง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หนามพุงดอเป็นไม้เลื้อย ยาวได้ถึง 7 ม. เปลือกเถาแก่สีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามยาวมีเนื้อนุ่มหนา ทุกส่วนบนต้นเกลี้ยง ไม่มีขน กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม มีหนามแหลมคม 1-2 คู่/ซอกใบ ยาว 1-1.5 ซม. ปลายหนามสีดำ 

ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปรีกว้าง ยาว 2-6 ซม. ปลายใบแหลม-เรียวแหลม และมีหนามสีดำยาว 1-2 มม. โคนใบมน-เว้าเล็กน้อย ผิวใบมันเงา เนื้อใบหนา เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุน มีเส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น ก้านใบยาว 6-8 มม. 

ดอก: ช่อดอกแบบกระจะหรือช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 5-25 ซม. ดอกแยกเพศ สีเหลืองอมเขียว ดอกบานกว้าง 5 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ กลีบเลี้ยงรูประฆัง แฉกกลีบเลี้ยง ยาว 2 มม. กลีบดอกยาวกว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อย 

ผล:ผลทรงกลม กว้าง 5-6 มม. มีเนื้อฉ่ำน้ำ ผลอ่อนสีขาวขุ่น เมื่อสุกมีสีขาวใส มี 1-3 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • รากสดมีกลิ่นเหม็น ตากแห้ง ใช้เข้ายาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยใช้ราก ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย
  • ราก ฝนเข้ายาอื่นๆ ดื่มแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ 
  • รากต้มน้ำดื่มรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ใช้ใบ แช่น้ำให้เด็กอาบ ทำให้แผลอีสุกอีใสหายเร็ว

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • การใช้ประโยชน์ของหนามพุงดอ สามารถนำมาเป็นอาหาร ผลสุก กินเป็นผลไม้
  • ยอดอ่อน มีกลิ่นฉุน ใช้เป็นเครื่องเทศดับคาว เช่น คั่วใส่หนู

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. 
  2. สำนักงานหอพรรณไม้
  3. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ. 
  4. https://www.siamplants.com/2022/05/azima-sarmentosa.html