เสน่ห์จันทร์แดง
  ชื่อสามัญภาษาไทยเสน่ห์จันทร์แดง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษKing of Heart
  ชื่อวิทยาศาสตร์Homalomena rubescens (Roxb.) Kunth
  ชื่อพ้องCalla rubescens Roxb., Chamaecladon rubescens (Roxb.) Schott, Zantedeschia rubens K.Koch
  ชื่อวงศ์Annonaceae
  ชื่อท้องถิ่นเสน่ห์จันทน์แดง (กรุงเทพฯ)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

     ต้นเสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลาย ๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง

    ใบเสน่ห์จันทน์แดง ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบออกตรงส่วนยอดของลำต้น ก้านใบเป็นสีแดงและยาวกว่าแผ่นใบ โคนก้านใบเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึก ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว และยาวประมาณ 6-12 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด เส้นใบเป็นสีแดง (หากโดนแสงแดดมากเกินไปจะทำให้ใบเปลี่ยนสี) ส่วนก้านใบมีลักษณะกลมยาวเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมแดง หากเลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์ก้านใบอาจเป็นสีแดงปนดำหรือเป็นสีแดงเลือดหมูตลอดทั้งก้านใบ

    ดอกเสน่ห์จันทน์แดง ออกดอกเป็นช่อบริเวณกลางต้น ลักษณะของดอกเป็นแท่งกลมยาว ช่อดอกยาวได้ประมาณ 3-4 นิ้ว มีลักษณะอวบและจะมีกาบสีแดงห่อหุ้มเอาไว้

    ผลเสน่ห์จันทน์แดง ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก จับดูจะนุ่ม ๆ

สรรพคุณทั่วไป

  • ทั้งต้น จะมีสารเป็นพิษชนิดหนึ่งอยู่ฉะนั้นจึงใช้เป็นยาพิษ
  • ใบ ใช้รักษาแผล และเป็นพิษเช่นกัน
  • หัว (เหง้า) ใช้เป็นยาทาเฉพาะภายนอกเท่านั้น คือจะช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบ

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาพิษ
  • เหง้า ใช้เป็นยาภายนอกทาแก้โรคไขข้ออักเสบ
  • ใบ ใช้รักษาแผล เป็นพิษ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://puechkaset.com/เสน่ห์จันทน์แดง/ https://thailand-an-field.blogspot.com/2010/01/blog-post_6486.html
  2. https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1793&code_db=610010&code_type=01