หงอนไก่ไทย
  ชื่อสามัญภาษาไทยหงอนไก่ไทย
  ชื่อวิทยาศาสตร์Celosia argentea L.
  ชื่อพ้องAmaranthus cristatus Noronha, A. huttonii H.J.Veitch, A. purpureus Nieuwl., A. pyramidalis Noronha, Celosia aurea T.Moore , C. castrensis L., C. coccinea L., C. comosa Retz., C. cristata L., C. debilis S.Moore, C. huttonii Mast., C. japonica Houtt., C. japonica Mart., C. margaritacea L., C. marylandica Retz., C. pallida Salisb., C. plumosa (Voss) Burv., C. purpurea J.St.-Hil., C. purpurea A.St.-Hil. ex Steud., C. pyramidalis Burm.f., C. splendens Schumach. & Thonn., C. swinhoei Hemsl., Chamissoa margaritacea
  ชื่อวงศ์Amaranthaceae
  ชื่อท้องถิ่นดอกด้าย หงอนไก่ดอกกลม หงอนไก่ฟ้า(กลาง) หงอนไก่ดง(นครสวรรค์) พอคอที
 
 
สรรพคุณทั่วไป

ตำรายาไทย ดอก รสฝาดเฝื่อน แก้บิด ห้ามเลือด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ตกขาว แก้ปวดศีรษะ แก้ตาแดง ดอก ก้าน ใบ ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารมีเลือด แก้บิด มูกเลือด ตกเลือด ตกขาว และแก้ตาแดง ใบ ใช้ห้ามเลือด ทาแก้ผดผื่นคัน ใบ กิ่งก้าน รสฝาดเฝื่อน แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้บิด แก้ผดผื่นคัน ห้ามเลือด เมล็ด รสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในตับ ขับลมร้อนในตับ แก้ความดันโลหิตสูง แก้ปวดศีรษะ แก้ตาแดง ตาปวด เยื่อตาอักเสบ ทำให้ตาสว่าง แก้ริดสีดวงทวาร ใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือด ช่วยห้ามเลือด เลือดกำเดาไหล แก้เม็ดผดผื่นคัน อักเสบ ดอกและเมล็ด ใช้ห้ามเลือด ใช้แก้เลือดกำเดาออก ราก รสขมเฝื่อน  แก้ไข้ที่มีอาการท้องอืดเฟ้อ หรือไข้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษร่วมด้วย ไข้พิษ แก้โลหิตเป็นพิษ บำรุงธาตุ แก้หืด แก้เสมหะ
 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=159