หมามุ่ย
  ชื่อสามัญภาษาไทยหมามุ่ย
  ชื่อวิทยาศาสตร์Mucuna pruriens (L.) DC.
  ชื่อพ้องCarpogon capitatus Roxb., C. niveus Roxb., C. pruriens (L.) Roxb., Dolichos pruriens L., Marcanthus cochinchinense Lour., Mucuna axillaris Baker, M. bernieriana Baill., M. cochinchinense (Lour.) A.Chev.,., M. esquirolii H.Lev., M. luzoniensis Merr., M. lyonii Merr., M. minima Haines, M. nivea (Roxb.) DC., M. prurita (L.) Hook., M. sericophylla Perkins, M. velutina Hassk., Negretia mitis Blanco, Stizolobium capitatum (Roxb.) Kuntze , S. cochinchinense (Lour.) Burk, S. niveum (Roxb.) Kuntze, S. pruritum (Wight) Piper, S. velutinum
  ชื่อวงศ์Leguminosae
  ชื่อท้องถิ่นบะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กาญจนบุรี) กล้ออือแซ (แม่ฮ่องสอน) หมามุ้ย ตำแย
 
 
สรรพคุณทั่วไป

  • ตำรายาไทย เมล็ด ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับปัสสาวะ บำรุงประสาท ฝาดสมาน แก้พิษแมงป่องกัด โดยตำเป็นผงใส่น้ำเล็กน้อย พอกบริเวณที่ถูกกัด รักษาโรคบุรุษ กระตุ้นกำหนัด กระตุ้นและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศชาย ราก ขับปัสสาวะอย่างแรง รากหมามุ่ยผสมกับรากมะเขือขื่น แช่น้ำกินแก้ไอ ใบ เป็นยาพอกแผล  ขน จากฝักทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง ทำให้คันและเป็นผื่นแดง ปวดและบวม    
  • ชาวเขาเผ่าอีก้อ ใช้ ใบ  ตำคั้นน้ำ ทา หรือพอก รักษาอาการไฟไหม้น้ำร้อนลวก
  • ตำราอายุรเวทของอินเดีย ใช้รักษาอาการของโรคคล้ายกับพาร์กินสัน ปัจจุบันพบ สาร L-dopa ในรากและเมล็ด ที่ออกฤทธิ์ในการรักษาโรคพาร์กินสัน

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=163
  • www.thaicrudedrug.com