มะคำไก่
  ชื่อสามัญภาษาไทยมะคำไก่
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษOfficinal Drypetes, Wild Olive
  ชื่อวิทยาศาสตร์Drypetes roxburghii (Wall.) Hurusawa
  ชื่อพ้องCyclostemon racemosus Zipp. ex Span. -Drypetes roxburghii (Wall.) Hurus. -Drypetes roxburghii var. timorensis (Blume) Airy Shaw -Drypetes timorensis (Blume) Pax & K.Hoffm. -Nageia putranjiva Roxb., nom. illeg. -putranjiva amblyocarpa Müll.Arg. -putranjiva sphaerocarpa Müll.Arg. -Pycnosandra timorensis Blume
  ชื่อวงศ์Euphorbiaceae
  ชื่อท้องถิ่นประคำไก่ มะคำไก่ มะคำดีไก่ (กลาง)/ มักค้อ (ขอนแก่น)/ มะองนก (เหนือ)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นมะคำไก่ เป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 8-10 เมตร เรือนยอดรูปรีค่อนข้างโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา 

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ระนาบเดียว รูปขอบขนานแกมรูป หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนรูปลิ่มเบี้ยว ขอบหยักมน หรือจักซี่ฟัน เป็นคลื่นเล็กน้อย 

ดอก ออกดอกแบบช่อกระจุก ออกเป็นกลุ่มตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง ดอกแยกเพศต่างต้นหรือบ้างครั้งอาจสมบูรณ์เพศ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่เท่ากันมี ขนที่ขอบเกสรเพศผู้ 3 อัน ดอก เพศเมีย กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่เท่ากัน 

ผล ลักษณะผลรูปรี หรือรูปไข่ สีขาวอมเทา สุกสีดำ

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบ รสขมเบื่อเล็กน้อย ตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย 
  • ราก เปลือกราก รสขมเบื่อเล็กน้อย แก้กระษัย แก้เส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถ่ายฝีภายใน เช่น แก้วัณโรค ฝีหรือมะเร็งในตับ 
  • ทั้ง 5 รสขมเบื่อเล็กน้อย แก้ริดสีดวงภายนอกภายใน แก้ฝีในกระดูก ปอด ตับ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ แก้ กระษัย ขับปัสสาวะ

 
สรรพคุณเฉพาะส่วนของสมุนไพร
 
  ใบตำพอกฝี
  รากแก้กระษัย แก้วัณโรค
  เปลือกแก้กระษัย แก้วัณโรค
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://thai-herbs.thdata.co/page/มะคำไก่/ 
  2. http://www.qsbg.org https://www.samunpri.com