พุงแก
  ชื่อสามัญภาษาไทยพุงแก
  ชื่อวิทยาศาสตร์Capparis siamensis Kura.
  ชื่อวงศ์Capparidaceae
  ชื่อท้องถิ่นหนามพุงแก, พุงขี้, น้ำนอง, เกี่ยวคอไก่ (โคราช), ไซซู (เลย), ขี้กาต้น, หนามขี้แรด (เหนือ), เดือยไก่ (สตูล), เมาขี้ (ปราจีนฯ), สายชู, สายซู่ (ขอนแก่น)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พุงแกเป็นไม้เถายืนต้นทรงพุ่มสูง 3-8 ม. กิ่งอ่อนสีเทาหรือน้ำตาลมีขน เมื่อแก้ไม่มีขน มีหนามเล็กเรียวบางโค้งเล็กน้อยออกตามข้อ 

ใบทรงกลมปลายแหลมกว้าง 3-5 ซม. เส้นใบด้านท้องสีน้ำตาลเหลือ 

ดอกช่อออกตามง่ามใบ สีเขียวขาว มีขนมีจุดสีเหลืองหรือแดง 

ผลกลมรีๆ เปลือกหนาเป็นปุ่มๆทั่วไป สุกสีแดง

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบ รสเฝื่อนเมา แก้ไข้ฝีกาฬ แก้ไข้สันนิบาต แก้ตะคริว ต้มอาบแก้ผดผื่นคัน 
  • ดอก รสขื่นเมา แก้โรคมะเร็ง 
  • ผล รสขื่นปร่า แก้เจ็บคอ แก้คออักเสบ 
  • ต้น รสขื่นปร่า แก้ฟกบวม 
  • เนื้อไม้ เผาเป็นถ่าน รสเย็น สีฟันทำให้ฟันขาวสะอาด 
  • ราก รสขมขื่น แก้ไข้เพื่อลม ขับลมในท้อง แก้ไข้ทุกชนิด แก้ร้อนใน

 
สรรพคุณเฉพาะส่วนของสมุนไพร
 
  ผลแก้เจ็บคอ
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.samunpri.com https://www.komchadluek.net