ไผ่ป่า
  ชื่อสามัญภาษาไทยไผ่ป่า
  ชื่อวิทยาศาสตร์Bambusa bambos (L.) Voss
  ชื่อวงศ์Annonaceae
  ชื่อท้องถิ่นหน่อไม้บ่งห้วย (กาฬสินธุ์) จะกั๊ตวา (พม่า) ชาเรียง ชารอง (นครพนม) ไผ่รวก (กาญจนบุรี) ไผ่หนาม ไผ่ป่า (ทั่วไป) ไผ่ซางหนาม (ภาคเหนือ) ทะงาน (ตราด) ทูน (เพชรบูรณ์) วาชุ แวซู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ระไซ (สุรินทร์)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ต้นไผ่ป่า ไผ่ขนาดใหญ่ กอแน่น มีหนาม และมีแขนงรกแน่น โดยเฉพาะตรงบริเวณโคนลำ ลำอ่อนมีสีเขียว ลำแก่จะมีสีเขียวเหลือง ข้อมีลักษณะบวมเล็กน้อย รูกระบอกเล็ก กาบหุ้มลำลักษณะแข็งเหมือนหนัง ร่วงหลุดได้ง่าย ตอนปลายกลม ขอบเรียบและมีขนสีทอง ลำใหญ่กว้าง กระจับกาบหุ้มลำแคบ

    ใบยอดกาบเป็นรูปสามเหลี่ยมใบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือเกือบกลม ท้องใบมีขน เส้นกลางใบข้างบนแบน ครีบใบเล็ก ขอบใบมีหนามเล็ก ๆ กาบใบแคบไม่มีขนนอกจากตามขอบอาจจะมีขนอ่อน

    ดอกจะออกดอกเป็นกลุ่ม

สรรพคุณทั่วไป

  • ราก แก้ไขกาฬ บำรุงเสมหะและโลหิต ขับปัสสาวะ แก้มุตกิด ระดูขาว
  • ใบ ขับและฟอกโลหิต ขับระดูขาว แก้มดลูกอักเสบ

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. samunpri.com/ไผ่ป่า/
  2. http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&Itemid=59&id=1659