มะลิ
  ชื่อสามัญภาษาไทยมะลิ
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษArabian jasmine, Jusmine , Grand Duke of Tuscany , Angel – hair jusmine , Angelnaing jusmine, Star jusmine.
  ชื่อวิทยาศาสตร์Jasminum Sambac (L.) Aiton.
  ชื่อวงศ์Oleaceae
  ชื่อท้องถิ่นมะลิลา, มะลิซ้อน (ทั่วไป), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), ข้าวแตก (ไทยใหญ่), บังหลีฮวย, เชียวหน้ำเคี้ยง (จีน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะลิจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเถา สูงน้อยกว่า 2 เมตร ลำต้นเป็นเถากลมเล็กยาวแตกกิ่งก้านไปรอบๆ ด้านกิ่งอ่อนมีขนสั้น ๆ สีขาว 

ใบออกเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปมนป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวแก่ ที่ท้องใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นใบมีขนาดใหญ่ มีประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบมีขนาดสั้นมากและมีขน 

ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ช่อหนึ่งปกติมี 3 ดอก ออกจากซอกใบหรือปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. มีขนสั้นๆ สีขาว ก้านดอกย่อย ยาว 5-10 มม. กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียว มีขนสั้น ๆ ส่วนปลายแยกเป็นเส้นปลายแหลม 8-10 เส้น ยาว 5-8 มม. กลีบดอกเป็นหลอดสีขาว ยาว 1.5-2 ซม. มีเกสรตัวผู้ 2 อัน อยู่ติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว รังไข่มี 2 ห้อง แต่ละห้องมี 2 เมล็ด ออกดอกตลอดปี

สรรพคุณทั่วไป

  • ใช้บำรุงหัวใจ
  • ช่วยดับพิษร้อน
  • ช่วยถอนพิษไข้
  • ช่วยทำจิตใจให้ชุ่มชื่น
  • ช่วยบำรุงครรภ์รักษา
  • แก้ร้อนใน
  • ช่วยกระหายน้ำ
  • แก้เจ็บตา
  • ช่วยสมานท้อง
  • แก้บิด
  • แก้ปวดท้อง
  • แก้แผลเรื้อรัง
  • ช่วยแก้ผิวหนังเป็นผื่นคัน
  • แก้ซาง (ตำใส่พิมเสน)
  • แก้ตัวร้อน (ตำใส่พิมเสน)
  • แก้หวัด (ตำใส่พิมเสน)
  • แก้อ่อนเพลีย
  • ช่วยชูกำลัง
  • แก้อึดแน่น
  • แก้ท้องเสีย
  • แก้เยื้อตาอักเสบ (ต้มน้ำใช้ล้างตา)
  • แก้ปวดหู
  • แก้ปวดเอ็นขัดยอก
  • แก้เลือดออกตามไรฟัน
  • แก้ปวดหัว
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ(กลิ่น)
  • ช่วยลดความเครียด(กลิ่น)
  • ช่วยลดความกลัว(กลิ่น) 
  • แก้นอนไม่หลับ

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อ่อนเพลีย ใช้ดอกแห้ง 1.5-3 กรัม ต้มน้ำ หรือชงน้ำร้อนดื่ม 
  • แก้ผิวหนังผื่นคัน  แผลเรื้อรัง ใช้ล้างตา แก้ตาอักเสบ แก้ปวดไข้ ต้มน้ำล้างตา บริเวณแผลผื่นคัน หรือแช่น้ำมันพืชหยอดหู  
  • แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน โดยใช้รากฝนผสมกับน้ำรับประทาน 
  • รักษาแผล ฝีพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนมโดยใช้ใบตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าวแล้วนำไปลนไฟแล้วจึงใช้ทาบริเวณที่เป็น
  • แก้อาการนอนไม่หลับ โดยใช้รากแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาฝนกับน้ำรับประทาน  แก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้รากสด 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน  
  • แก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนำมาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด 
นอกจากนี้ในมาเลเซีย 
  • ใช้ดอกพอกหัว แก้ปวดหัว 
  • ใบใช้พอกแก้ฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิดหนัง และบาดแผล ต้มน้ำกินแก้ไข้ 
  • ต้มกับน้ำมันพืช ใช้ทาหัว แก้อาการผิดปกติเกี่ยวกับตา ทำให้ตาสว่าง 
  • ใช้เป็นยาแก้วิกลจริต 
  • ใบแห้งใช้พอกแผลเรื้อรังและโรคผิวหนังอื่น ๆ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “มะลิ”.  หน้า 454.
  2. ภก.ชัยโย  ชัยชาญทิพยุทธ.มะลิ.คอลัมน์อื่นๆ.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 21. มกราคม 2524
  3. ภูริพันธุ์ สุวรรณเมฆ.มะลิ ดอกไม้แห่งคุณค่า.กลุ่มส่งเสริมไม้ดอกและไม้ประดับ.สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  4. ธิดารัตน์ จันทร์ดอน.มะลิ สวย หอม มีคุณค่า.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  5. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “มะลิ”.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 639-641.
  6. ชยันต์ พิเชียรสุนทร.คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 1 น้ำกระสายยา.กรุงเทพฯ.บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ จำกัด (มหาชน) 2556.94 หน้า
  7. สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.คู่มือการใช้ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2555.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.2555:140 หน้า
  8. กรมส่งเสริมการเกษตร.2556.องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ.กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  9. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “มะลิลา Arabian Jasmine”.  หน้า 128.
  10. สุรัตน์วดี จีระจินดา.การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้หอมไทย.วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ.กรุงเทพฯ.บริษัท รุ่งเรืองสาส์น การพิมพ์ 2549.2:72หน้า
  11. กนกพร อะทะวงษา,พิชานันท์ ลีแก้ว.ดอกไม้ในยาไทย.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  12. ฤทธิ์กระตุ้นอารมณ์ของน้ำมันจากดอกมะลิ.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  13. มะลิ.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=106
  14. มะลิลา.กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ.สรรพคุณสมุนไพร200ชนิด.โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://www.rspg.or.th/plant.data/nerbs/herbs_03_9.htm