เกด
  ชื่อสามัญภาษาไทยเกด
  ชื่อวิทยาศาสตร์Pandanus tectorius Blume
  ชื่อวงศ์Pandanaceae
  ชื่อท้องถิ่นต้นเตยหนาม, การะเกด, การะเกดด่าง, ลำเจียกหนู (กทม), เตยด่าง, เตยหอม (กลาง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เกดเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง เปลือกแตกเป็นสะเก็ดสีดำเนื้อไม้สีน้ำตาลแดง เสี้ยนสน แต่เหนียวและแข็งมาก กิ่งมักคดงอเป็นข้อศอก เรือนพุ่มเป็นกลุ่มกลม ไม่ผลัดใบ ต้นเล็กจะมีกิ่งลักษณะคล้ายหนาม มีใบติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลาย ๆ กิ่ง ปลายหนามลำต้นยังเล็กอยู่ ถ้าสับเปลือกดูจะมียางขาวซึมออกมา

ใบเกด รูปไข่กลับ ปลายใบผายกว้าง และมักหยักเว้าเข้า ใบจะเรียวสอบมาทางโคนใบ เนื้อใบละเอียดเป็นมันทางด้านบนและมักเป็นคราบขาวทางด้านล่าง แขนงใบมักขนานกันและค่อนข้างถี่ 

ดอกเกด ออกเป็นกระจุก ๆ ละ 3-5 ดอก ตามง่ามใบของกิ่งแขนงมีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ดอกบานจะกว้างประมาณ 0.7 ซม. กลีบดอกเป็นฝอยเล็ก ๆ ก้านดอกยาวประมาณ 1 ซม. 

ผลเกด ผลกลม โตประมาณ 1-1.5 ซม. มีเนื้อเยื่อหุ้ม เมื่อสุกสีเหลืองแสด เมล็ดมี 1-2 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • ผล กินเป็นยาฝาดสมาน และบำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องผูก
  • ผลและเมล็ด ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม
  • เมล็ด บรรเทาอาการระคายเคือง รักษาแผลเปื่อย และแผลพุพอง
  • เปลือก เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เหงือกอักเสบ แก้ไข เป็นยาฝาดสมาน และเป็นยาต้านพิษ ช่วยขับปัสสาวะ ลดอาการไข้ ช่วยบำรุงกำลังให้แข็งแรง บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.samunpri.com/เกด/
  2. http://www.สมุนไพร-ไทย.com/สมุนไพรไทย/ระบบทางเดินหายใจ/แก้ไอ/ขับเสมหะ/การเกด/