กระเจี๊ยบมอญ
  ชื่อสามัญภาษาไทยกระเจี๊ยบมอญ
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษOkra, Lady’s finger, Gombo, Bindi
  ชื่อวิทยาศาสตร์Abelmoschus esculentus (L.) Moench
  ชื่อพ้องHibiscus esculentus Linn
  ชื่อวงศ์Malvaceae
  ชื่อท้องถิ่นกระเจี๊ยบเขียว, มะเขือมอญ, มะเขือทวาย (ภาคกลาง), มะเขือมื่น, มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ), กะต๊าด (สมุทรปราการ), ถั่วและ (ภาคอีสาน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระเจี๊ยบมอญจัดเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 1 ปี มีระบบรากประกอบด้วยรากแก้ว และรากฝอยแผ่ขยายไปด้านข้างและหยั่งลึกได้ถึง 30-60 ซม. ส่วนลำต้นจะตั้งตรงสูง 0.80-2 เมตร ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน มีสีขาวนวล ขาวเขียว หรืออาจมีสีแดงปน มีขนอ่อนขึ้นปกคลุม เปลือกลำต้นบาง แตกกิ่งน้อย กิ่งมีขนาดสั้นและมีขนขึ้นปกคลุมเช่นเดียวกับลำต้น

ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ โดยจะออกแบบเรียงสลับ ลักษณะของใบมีสีเขียวคล้ายรูปฝ่ามือรูปร่างกลมหรือเกือบกลมและมักเว้าเป็นสามแฉก แบบร่องลึกมีความกว้างประมาณ 10-30 เซนติเมตร ปลายใบหยักแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใยออกจากโคนใบ 3-7 เส้น ใบมีขนหยาบสากมือ ก้านใบยาว

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวโดยจะแทงออกบริเวณเหนือซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศเป็นรูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลมมีสีเหลืองอมขาว บริเวณกลางดอกมีสีม่วง มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก มีกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาด 4-8 เซนติเมตร ดอกที่ผสมติดแล้ว กลีบดอกจะฝ่อและร่วงไปประมาณ 3-4 วัน

ผล ออกเป็นฝักรูปร่างห้าเหลี่ยมทรงกระบอกยาว 5-30 เซนติเมตร (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) ปลายเรียวแหลมลักษณะฝักโค้งงอเล็กน้อย มีขนปกคลุมภายในฝักพบเมล็ดจำนวนมาก

เมล็ด รูปร่างกลมคล้ายเมล็ดนุ่น โดยเมล็ดอ่อนจะมีสีขาวเหลือง ส่วนเมล็ดที่แก่แต่ยังไม่แห้งจะมีสีดำเป็นมันวาว และเมื่อเมล็ดแห้ง เมล็ดจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย ผิวจะไม่มันวาวและมีสีดำอมเทา

สรรพคุณทั่วไป

  • บำรุงสมอง
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้
  • บำรุงตับ
  • บำรุงข้อกระดูก
  • ลดความดัน
  • ช่วยป้องกันอาการหลอดเลือดตีบตัน
  • แก้หวัด
  • ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • รักษาโรคกระเพาะ แผลในกระเพาะ
  • แก้บิด
  • แก้กรดไหลย้อน
  • ขับพยาธิ
  • ช่วยขับเหงื่อ
  • ช่วยแก้อาการขัดเบา
  • รักษาโรคหนองใน
  • แก้ปากนกกระจอก
  • ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอล
  • แก้ปวดบวม
  • ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
  • แก้ซิฟิลิส
  • รักษาฝี
  • รักษาแผล

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. นิดดา หงส์วิวัฒน์. กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบมอญ. ครัว. ปีที่ 18 ฉบับที่ 200 สิงหาคม 2554 หน้า 18-26
  2. รศ.ดร. สุธาทิพ ภทรประวัติ. กระเจี๊ยบมอญ.คอลัมน์บทความพิเศษ. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 347. มีนาคม 2551.
  3. พะยอม ตันติวัฒน์. สมุนไพร. กรุงเทพฯ” โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521: 142 หน้า
  4. พนดา ใหม่ธรรมสาร. กระเจี๊ยบมอญ (กระเจี๊ยบเขียว)...รักษาโรคกระเพสะอาหาร. บอกกล่าวเล่าเรื่องสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ฤทธิ์ลดการเมื่อยล้าและต้านความเครียดของกระเจี๊ยบมอญ.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. เทพพนม เมืองแมน ภรณี หวังธำรงวงศ์ อรา สุตเธียรกุล วรัญญา แสงเพชรส่อง ร่มไทร กล้าสุนทร. คู่มือสมุนไพรรักษาโรคตามกลุ่มอาการ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2533:190 หน้า
  7. ฤทธิ์ลดไขมันของกระเจี๊ยบมอญ. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. สมจินตนา ทั่วทิพย์ และคณะ. ผลของสารสกัดจากกระเจี๊ยบมอญต่อเนื้อเยื่อวิทยาของตับและไตในหนูที่ได้รับสารเดกซาเมทาโซนอย่างต่อเนื่อง.วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 35. ฉบับที่ 5 กันยายน-ตุลาคม 2559. หน้า 486-501.
  9. กระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณ และการปลูกกระเจี๊ยบเขียว. พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com