บุก
  ชื่อสามัญภาษาไทยบุก
  ชื่อวิทยาศาสตร์Amophophallus paeoniifolius (Dennst.)Nicolson.
  ชื่อพ้องAmophophallus campanulatus (Roxb.)Blume ex Decne
  ชื่อวงศ์Annonaceae
  ชื่อท้องถิ่นมันซูรัน (ภาคกลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เมีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) บุกคางคก (กลาง เหนือ) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ (สกลนคร) กระบุก (บุรีรัมย์)ป บุกรอหัววุ้น หมอยวี จวี๋ ยั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หมอยื่น (จีนกลาง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

บุก เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ลำต้นอวบ สีเขียวเข้ม ตามต้นมีรอยด่างเป็นดวงๆ เขียวสลับขาว 

ใบบุกเป็นชนิดใบเดี่ยว แตกใบที่ยอด กลุ่มใบแผ่เป็นแผงคล้ายร่มกางก้านใบต่อเนื่องกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 – 7 ใน รูปใบบุกยาวปลายใบแหลม ขนาดใบยาว 12 – 15 ซม. ลำต้นสูง 1 – 2 เมตร 

ดอกบุกเป็นสีเหลือง บานในตอนเย็นมีกลิ่นเหม็น คล้ายหน้าวัว ประกอบด้วยปลี และจานรองดอก จานรองดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 – 15 ซม. เกสรตัวผู้และตัวเมียรวมอยู่ในดอกเดียวกัน แต่แยกกันอยู่คนละชั้น เมื่อบานจานรองดอกจะโรย เหลืออยู่แต่ปลีดอก ซึ่งจะกลายเป็นผล ก่อนออกดอกต้นบุกจะตายเหลือแต่หัว ซึ่งเป็นก้อนกลมสีขาว ขนาด 6 – 10 ซม.เจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน

สรรพคุณทั่วไป

  • เป็นยาบำรุงธาตุ
  • ขับลม
  • แก้บิด
  • แก้โรคไขข้ออักเสบ
  • ลดความอ้วน
  • บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
  • แก้ริดสีดวงทวาร
  • ใช้ขับเสมหะ 
  • ใช้พอกฝี
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • เป็นยารักษาโรคมะเร็ง
  • แก้อาการไอ
  • ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรี
  • แก้โรคตับ
  • ใช้แก้พิษงู
  • แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. บุก.ฐานข้อมูลเครื่องยา.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudearug.com/main.php?action=viewpage&pid=79
  2. วิทยา บุญกรพัฒน์บุก.หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย.จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.หน้า310
  3. สรรพคุณสมุนไพร200ชนิด.โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_27_3.htm
  4. เต็ม สมิตินันท์ . 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2544) กรมป่าไม้ พหลโยธิน กรุงเทพฯ หน้า 830
  5. หรรษา จักรพันธ์ ณ.อยุธยา และอรนุช เกษประเสริญ . 2532.พืชสมุนไพร.เอกสารวิชาการเล่มที่ 1 งานวิจัยพืชสมุนไพรและเครื่องเทศกองพฤษศาสตร์และวัชพืช กรมวิชาการเกษตร หน้า 109
  6. ทิพวัลย์ สุกุมลนันท์.พันธุ์บุกในประเทศไทย.ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ.เชียงใหม่ หน้า 1 – 46
  7. บุกและหัวบุก.รวมสาระด้านพืชเกษตรและเทคนิคต่างๆ(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://puechkaset.com
  8. ดร.นิจศิริ เรืองรังสี.ธวัชชัย มังคละคุปต์.”บุกคางคก(Buk Kang Kok).”หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1 .หน้า 165
  9. ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.บุก.หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย,ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 .หน้า 429-430
  10. ภก.หญิง อุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก.บุก.หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด.หน้า144
  11. “บุกคางคก” Stanley’s water-tub”.หนังสือสมุนไพรสานสิรีรุกขชาติ.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.หน้า 48
  12. พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังสี,กัญจนา ดีวิเศษ.บุก.หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง หน้า 106
  13. กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ.2546 .งานชุมนุมแพทย์แผนไทยและสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 5 “สุขภาพดีด้วยแพทย์แผนไทย”กรุงเทพ;โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.