สะค้าน
  ชื่อสามัญภาษาไทยสะค้าน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษMing Aralia, Parsley Panax
  ชื่อที่เกี่ยวข้องตะค้านเล็ก, ตะค้านหยวก, จะค่าน , จั๊กค่าน , หนาม , มังเหาเจ๊าะ , ผู่แฮเหมาะ
  ชื่อวิทยาศาสตร์Piper ribesoides Wall.
  ชื่อวงศ์Piperaceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

สะค้านเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นอวบอ้วนขนาดใหญ่ ทุกส่วนเกลี้ยง รูปทรงและขนาดของใบพบได้หลากหลาย เนื้อใบเหนียวและหนามาก 

ใบบนลำต้นมีขนาดเล็กกว่ามาก ส่วนใหญ่แผ่นใบรูปสามเหลี่ยมแคบโดยเรียวไปทางปลายใบ หรือรูปไข่แคบ ฐานใบเว้าลึกพูมน สมมาตรหรือไม่สมมาตร ปลายใบแหลม ใบบนกิ่งแผ่นใบรูปรี ฐานใบเว้ารูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม แผ่นใบทั้งสองแบบขนาด 5-11.5 x 8-22 ซม. เส้นใบมีจำนวน 9 เส้น มี 3 คู่ออกจากฐานใบ เส้นอื่นๆ ออกจากเส้นกลางใบเหนือฐานใบ 2-3 ซม. 

ช่อดอกเพศผู้ห้อยลง ขนาด 0.1-0.2 x 5-8 ซม. ก้านช่อดอกยาว 0.5-0.8 ซม. ใบประดับมีก้าน เกสรเพศผู้ 4 อัน ช่อผลยาว 2-18 ซม. 

ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.6 ซม. เมื่อแก่มีสีเขียวแกมเหลือง เมื่อสุกมีสีแดง ก้านผลยาว 0.5-0.6 ซม


สรรพคุณทั่วไป

  • แก้ลมอัมพฤกษ์
  • แก้ลมในทรวงอก
  • ขับลมในลำไส้
  • ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
  • แก้ไข้
  • แก้หืด
  • แก้จุดเสียด
  • รักษาธาตุ
  • ใช้เป็นยาแก้ลมในกองเสมหะโลหิต
  • เป็นยาแก้ลมอัมพฤกษ์
  • ใช้เป็นยาแก้ลมแน่นในทรวงอก 
  • แก้ธาตุพิการ
  • บำรุงธาตุทำให้ผายเรอ
  • แก้โรคเบื่ออาหาร มือเท้าเย็น ปากแห้ง คอแห้ง คลื่นเหียนอาเจียนจนถึงขั้นหายใจขัด

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ขับลม, แก้จุกเสียดแน่น โดยใช้เถาสดความยาว 1 คืบ หรือประมาณ 50 – 70 กรัม ฝานเป็นแว่นตากแดดให้แห้ง นำมาต้มในน้ำประมาณ 500 ซีซี ประมาณ 10 – 15 นาที กรองเอาน้ำดื่มวันละ 2 3 เวลา ก่อนอาหาร 
  • ลำต้น ตากแห้งผสมกับ เปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นฮ่อสะพายควาย ม้ากระทืบโรง ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูก และโด่ไม่รู้ล้มต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย (คนเมือง)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. อรุณรัตน์ ฉวีราช, รุ่งลาวัลย์ สุดมูล, ธวัตชัย ธานี, และ ปิยะ โมคมุล. 2552. พืชสกุลพริกไทยในประเทศไทย . ขอนแก่นการพิมพ์, ขอนแก่น.
  2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์, คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา ; 2544.
  3. นันทวัน บุณยะประภัศร. การตรวจสอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดจากพืช.ใน: วีณา จิรัจฉริยากูล. ยาและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2534.
  4. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์;2545
  5. สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา:2542.
  6. ชยันต์ พิเชียรสุนทร , วิเชียร จีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 6 คณาเภสัช.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์ ; 2547
  7. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ.2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549.
  8. ธวัตชัย ธานี, รุ่งสาวัลย์ สุดมูล, ชัยชนะ วิชัยดิษฐ์, เยาวลักษณ์ สุวรรณคอ .รายงานการวิจัย ความหลากหลายของพืชสกุลพริกไทยในอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี . กรกฎาคม 2558 . หน้า 31-32
  9. ภคมน ธนทัศกิตติ, เสาวณี สาธรวิริยะพงศ์, กรวิกา จาระพันธ์, จินดา หวังบุญสกุล, ชยันต์ พิเชียรสุนทร .ข้อกำหนดมาตรฐานของสะค้าน.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2553.หน้า 47-49
  10. เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
  11. เกรียงไกร เพาะเจริญ และคณะ, 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางโอ. บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด, เชียงใหม่.
  12. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.(พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).“ตะค้านเล็ก”.หน้า 113.
  13. รายงานการวิจัยสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง.สถานีศึกษาการพัฒนาการจัดการอุทยานแห่งชาติทางบกจังหวัดสุราษฏร์ธานี ศูนย์ศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติทางบก สำนักอุทยาแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พ.ศ. 2554.หน้า53-54
  14. ยาบำรุงธาตุปรับธาตุ.บัญชีหลักแห่งชาติ.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
  15. http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/herbal/list/643