พญาสัตบรรณ
  ชื่อสามัญภาษาไทยพญาสัตบรรณ
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษDevil tree, White cheesewood, Devil bark, Dita bark, Black board tree
  ชื่อวิทยาศาสตร์Alstonia scholaris (L.) R. Br.
  ชื่อวงศ์Apocynaceae
  ชื่อท้องถิ่นหัสบัน สัตบรรณ สัตตบรรณ จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทย ต้นตีนเป็ด
 
 
สรรพคุณทั่วไป

  • เปลือกต้นมีรสขม ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นสัตบรรณมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน (เปลือกต้น)
  • น้ำยางจากต้นใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้ (ยาง)
  • น้ำยางจากต้นใช้อุดฟันเพื่อแก้อาการปวดฟันได้ (ยาง)
  • ใบอ่อนใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิดได้ (ใบ)
  • เปลือกต้นใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้ไข้ (เปลือกต้น,ใบ)
  • ดอกช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน (ดอก)
  • เปลือกต้นต้มน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคมาลาเรีย (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้โลหิตพิการ (ดอก)
  • ช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังได้ (ใบ)
  • เปลือกต้นพญาสัตบรรณช่วยรักษาโรคบิด ท้องร่วง ท้องเดินเรื้อรัง โรคลำไส้และลำไส้ติดเชื้อ (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานลำไส้ได้ (เปลือกต้น)
  • ช่วยบำรุงกระเพาะ (ยาง)
  • กระพี้มีสรรพคุณช่วยขับผายลม (กระพี้)
  • ช่วยขับพยาธิไส้เดือน (เปลือกต้น)
  • ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (เปลือกต้น)
  • ช่วยขับระดูของสตรี (เปลือกต้น)
  • ช่วยขับน้ำนม (เปลือกต้น)
  • ใบใช้พอกเพื่อดับพิษต่าง ๆ ได้ (ใบ)
  • ในประเทศอินเดียมีการใช้ใบและยางสีขาวในการนำมาใช้รักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ (ใบ, ยาง)
  • ยางใช้รักษาแผลที่เป็นตุ่มหนอง ช่วยทำให้แผลแห้งเร็ว (ยาง)
  • เปลือกต้นใช้ต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาผดผื่นคัน (เปลือกต้น)

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนจุนวิทยาคม, เว็บไซต์โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์, เว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง จังหวัดเชียงใหม่
  • https://medthai.com/พญาสัตบรรณ/