ข่า
  ชื่อสามัญภาษาไทยข่า
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษGalanga, Greater galangal, False galangal
  ชื่อวิทยาศาสตร์Alpinia galanga (L.) Willd.
  ชื่อวงศ์Zingiberaceae
  ชื่อท้องถิ่นสะเอเชย เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน), ข่าหยวก (ภาคเหนือ), ข่าหลวง (ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กฎุกกโรหินี (ภาคกลาง) 
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ข่าเป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า) และยังประกอบไปด้วย ใบ ดอก ผล และเมล็ด โดยจัดอยู่ในตระกูลขิง เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่บ้านเราและอินโดนีเซียนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ ใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยแต่งกลิ่นอาหาร ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหรือน้ำพริกต่าง ๆ ใช้ปรุงรสในอาหารต่าง ๆ อย่างต้มข่า ต้มยำ ผัดเผ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ดอกและลำต้นอ่อนยังใช้รับประทานเป็นผักสดได้อีกด้วย
สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยให้เจริญอาหาร 
  • เหง้าช่วยบำรุงร่างกาย 
  • หน่อช่วยบำรุงธาตุไฟ 
  • ข่ามีสาร 1-acetoxychavicol acetate (ACA) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งจากการเหนี่ยวนำของสารก่อมะเร็ง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งไปด้วยในตัว 
  • สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง 
  • สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • สารสกัดจากเหง้า, เหง้าแก่ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ 
  • รากช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายให้ดีขึ้น 
  • สารสกัดจากเหง้าน้ำมันหอมระเหยจากข่ามีประโยชน์อย่างมากต่อระบบทางเดินหายใจ จึงมีส่วนช่วยแก้อาการหวัด ไอ และเจ็บคอได้เป็นอย่างดี 
  • หน่อช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก 
  • เหง้าแก่ช่วยแก้ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง 
  • เหง้าและรากมีสรรพคุณทางยาช่วยแก้เสมหะ 
  • ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร วันละ 3 เวลา 
  • ผงจากผลแห้งสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดฟันได้ ด้วยการนำผลไปบดแล้วนำมาทาบริเวณที่ปวด 
  • ใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ท้องเดิน ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต นำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร วันละ 3 เวลา 
  • ดอกข่าใช้รับประทานช่วยแก้อาการท้องเสียได้ 
  • ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต นำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร วันละ 3 เวลา 
  • ข่ามีสรรพคุณช่วยแก้บิด ปวดมวนท้อง ลมป่วง ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต นำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร วันละ 3 เวลา 
  • ผลข่าช่วยรักษาโรคท้องร่วง 
  • เหง้าช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ 
  • เหง้าข่าแก่ช่วยย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย 
  • เหง้ามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ 
  • เหง้าช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร 
  • สารสกัดจากเหง้าช่วยทำลายสารพิษที่ตกค้างในลำไส้ 
  • สารสกัดจากเหง้าช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ 
  • เหง้าช่วยขับน้ำดี 
  • ข่าหลวงช่วยแก้ดีพิการ 
  • ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา ขับรก ด้วยการใช้เหง้านำมาตำกับมะขามเปียกและเกลือ ให้ผู้หญิงรับประทานหลังคลอด 
  • สารสกัดจากเหง้าใช้เป็นยารักษาแผลสด 
  • เหง้าช่วยลดอาการอักเสบ 
  • สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยต้านอาการแพ้ต่าง ๆ 
  • สารสกัดจากเหง้าช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย 
  • เหง้าใช้รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ 
  • สารสกัดจากเหง้าช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา 
  • น้ำมันหอมระเหย และใบช่วยฆ่าพยาธิ 
  • ช่วยรักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้เหง้าแก่เท่าหัวแม่มือ นำมาตำจนละเอียดผสมกับเหล้าโรง ใช้ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย 
  • ดอกของข่าช่วยแก้ฝีดาษ 
  • ใช้เป็นยาแก้ลมพิษ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่ ๆ ที่สด 1 แง่ง นำมาตำจนละเอียด แล้วเติมเหล้าโรงพอแฉะ และใช้ทั้งน้ำและเนื้อนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น 
  • ช่วยแก้โรคน้ำกัด ด้วยการใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ นำมาตำให้ละเอียดแล้วเติมเหล้าโรงพอท่วม ทิ้งไว้ 2 วัน แล้วใช้สำลีชุบแล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 รอบ 
  • ช่วยแก้ฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง เคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้เหง้าแก่ตำละเอียด นำมาพอกบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดแล้วนำไปแช่กับเหล้าขาวหรือน้ำส้มสายชูทิ้งไว้ 1 วัน กรองเอาแต่น้ำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น 
  • เหง้าช่วยแก้ตะคริว 
  • เหง้าช่วยแก้เหน็บชา 
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อาการปวดบวมตามข้อ ด้วยการใช้ต้นข่าแก่นำมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวแล้วทาแก้อาการ 
  • ดอกและลำต้นอ่อนสามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้ 
  • ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ
  • สารสกัดจากเหง้าข่ามีฤทธิ์ช่วยฆ่าแมงลงวันได้ 
  • ช่วยไล่แมลง ด้วยการใช้เหง้านำมาตำให้ละเอียดเพื่อเอาน้ำมันหอมระเหย แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง 
  • ข่ามีเหง้าที่มีน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นหอม สามารถใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ กุ้ง หอย ปู ปลาได้เป็นอย่างดี 
  • ในบางประเทศใช้ข่าเพื่อช่วยระงับกลิ่นปากและใช้ดับกลิ่นกาย
  • นำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง ต้มยำปลา แกงมัสมั่น แกงเทโพ แกงไตปลา ผัดเผ็ด ลาบ ฯลฯ
  • มีการนำข่าไปผลิตหรือแปรรูปเป็นเครื่องดื่มหรือชา ทำลูกประคบ สเปรย์ดับกลิ่น ฯลฯ

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  2. www.rspg.or.th
  3. www.samunpri.com
  4. www.bspwit.ac.th
  5. หนังสือยากลางบ้าน (สุนทร ปุณโณฑก)