แห้ม
  ชื่อสามัญภาษาไทยแห้ม
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษFaise calumba, Ceylon calumba root.
  ชื่อวิทยาศาสตร์Coscinium fenestratum (Goetgh.) Colebr.
  ชื่อพ้องCoscinium usitatum Pierre
  ชื่อวงศ์Menispermaceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

     แห้มจัดเป็นไม้เถาขนาดใหญ่คล้ายต้นสะค้าน ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อไม้เป็นสีเหลืองมีรูพรุน ไม่มีกลิ่นมีรสขมและมีน้ำยางเป็นสีเหลืองเช่นกัน

    ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบรูปไข่หรือรูปไข่กว้าง โดยใบกว้างประมาณ 8-23 ซม. และยาวประมาณ 11-33 ซม. ฐานใบกว้าง รูปทรงกลมหรือตัดตรง หรือรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบด้านบนเรียบ เส้นกลางใบและเส้นใบฝังในแผ่นใบ (ไม่นูน) เส้นใบออกจากแห่งเดียวกันเป็นรูปฝ่ามือ (palmate) ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นหนาแน่นสีขาว แผ่นใบลักษณะหนาและเหนียวคล้ายหนัง ก้านใบยาว 3-16 ซม. โดยจะติดถึงจากขอบใบ 0.8-2.7 ซม.

    ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะ (raccme) แต่ละช่อยาว 5-11 ซม. ออกมีละช่อ หรือ 2-3 ช่อ ใบประดับเป็นรูปลิมแคบ ยาว 4-5 มม. ส่วนดอกย่อยที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 มม. ก้านดอกยาว 10-30 มม. ดอกตัวผู้ ไม่มีก้านดอก หรือก้านสั้นราว 1 มม. เกสรตัวผู้มี 6 อัน ส่วนดอกตัวเมีย มีกลีบเลี้ยงคล้ายคลึงกับลักษณะของดอกตัวผู้ มีรังไข่ 3 อัน รูปรีโค้ง ยาว 2 มม. มีขนยาว ก้านชูยอดเกสรคล้ายเส้นด้าย

    ผลมีลักษณะทรงกลม สีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีส้ม และมีขนสั้นปกคลุม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 ซม. เปลือกผลเมื่อแก่จะแห้งแข็งและหนาประมาณ 1 มม. เมล็ดมีสีขาว รูปโค้ง

สรรพคุณทั่วไป

  • ใช้รักษาโรคดีซ่าน แก้ไข้ เป็นยาเจริญอาหาร
  • ช่วยย่อยอาหาร แก้บิด แก้ลำไส้อักเสบ
  • ช่วยบำรุงโลหิต แก้ขับระดู
  • แก้ตาแดง แก้ตาอักเสบ
  • ช่วยรักษาแผลเปื่อยมีหนอง และผื่นคันตามผิวหนัง

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้ แก้ไข้ แก้ดีซ่าน แก้บิด แก้ลำไส้อักเสบ บำรุงโลหิต ขับระดูในสตรี
  • ช่วยเจริญอาหารและช่วยย่อยอาหาร โดยใช้เนื้อไม้หรือรากมาบดกับน้ำดื่มหรือใช้ดองเหล้าโรงดื่มหรืออาจใช้ใบบดเป็นผงกินกับน้ำร้อนก็ได้
  • ใช้แก้ผดผื่นคันตามผิวหนัง รักษาแผลเปื่อยแผลมีหนอง โดยใช้เนื้อไม้และราก บดเป็นผงใช้ผสมน้ำทาบริเวณที่เป็น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. ประนอม  เดชวิศิษฎ์สกุล.ลักษณะทางเภสัชเวทของแห้ม สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.11หน้า
  2. เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก.  “แห้ม”.  หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด.  หน้า 176.
  3. วงศ์สถิต ฉั่วสกุล.แห้ม(แฮ่ม)และขมิ้นเครือ.จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่24.ฉบับที่2.มกราคม2550.หน้า18-21
  4. สมุนไพรแฮ้ม.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.medplamt.mahidol.ac.th/user/replg.asp?id=5432.
  5. แฮ้ม.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล(ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asg?id=5348