แฝกหอม
  ชื่อสามัญภาษาไทยแฝกหอม
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษVetiver, vetiver grass , Sevendara grass
  ชื่อวิทยาศาสตร์Vetiveria zizanioides (L.) Nash
  ชื่อพ้องChrysopogon zizanioides (L.) Roberty, Rhaphis zizanioides (L.) Roberty., Phalaris zizanioides Linn., Aerticillata Lamk.
  ชื่อวงศ์Annonaceae
  ชื่อท้องถิ่นหญ้าแฝก, แฝก (ทั่วไป), หญ้าแฝกหอม, แฝกลุ่ม (ภาคกลาง), ตะไคร้จีน, แคมหอม, แกมหอม (ภาคอีสาน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

     แฝกหอมจัดเป็นพืชตระกูลหญ้า ที่เจริญเติบโตเป็นกอขนาดใหญ่ โดนกอเบียดแน่น เหง้าเป็นกระจุก แน่น มีกลิ่นหอม รากฝอยสามารถหยั่งลึกลงไปในดินได้ถึง 4 เมตร ลำต้นตั้งตรง สูง 1-1.5 เมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-8 มิลลิเมตร    

    ผิวเกลี้ยงใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แตกจากโคนกอ แผ่นใบแคบยาว ขอบใบขนาน เนื้อของแผ่นใบกร้าน สากใบมีความยาว 45-100 เซนติเมตร กว้าง 0.6-1.2 เซนติเมตร หลังใบโค้งปลายแบนสีเขียวเข้ม มีไขเคลือบมากทำให้ดูมัน ท้องใบออกขาวซีดกว่าด้านหลังใบ

    ดอกออกเป็นช่อตั้ง ซึ่งจะออกที่ปลายยอด ที่มีกานช่อดอกโผล่ยื่นออกจากลางลำต้น มีลักษณะเป็นรวง ก้านช่อดอก และรวงสูงได้ประมาณ 90-150 ซม. และแตกเป็นช่อดอกย่อย โดยช่อดอกย่อยของหญ้าแฝกหอมส่วนใหญ่มีสีม่วงแต่ก็อาจจะมีสีเขียวปนอยู่บางดอก

    เมล็ดแฝกหอมเป็นเมล็ดแบบแห้งรูปกระสรวย ผิวเรียบ หัวท้ายมน ขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 มม. ยาว 2-3 มม. เปลือกบาง

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ
  • ช่วยกล่อมประสาท
  • ช่วยขับลมในลำไส้
  • ช่วยบำรุงโลหิต
  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • แก้ท้องเดิน
  • แก้ปวดท้อง
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้ไข้พิษ
  • แก้ไข้อภิญญาณ
  • แก้ไข้คุดทะราด
  • แก้โรคประสาท
  • แก้ไข้หวัด
  • แก้ปวดเมื่อย
  • ช่วยทำให้นอนหลับ
  • ช่วยทำให้สงบ
  • ช่วยให้ผิวหนังร้อนแดงลด
  • แก้ลมกองละเอียด (อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย  ใจสั่น)
  • แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน
  • แก้ลมปลายไข้
  • ช่วยบรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย
  • แก้ร้อนในกระหายน้ำ
  • แก้พิษหัด
  • แก้พิษสุกใส
  • ช่วยลดไข้
  • แก้ปวดศีรษะ
  • ช่วยขับเหงื่อ
  • ช่วยขับระดู
  • ใช้เป็นยาละลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. เต็ม สมิตตินันทน์.ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย(ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง)กรุงเทพมหานคร.ฟันนี่พับบลิชชิ่ง,2523ซ345.
  2. “แฝกหอม”หนังสือสมุนไพรสวนสิริรุกขชาติ.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.หน้า206.
  3. ภก.เย็นจิตร เตชะดำรงสิน , ดรุณ เพ็ชรพลาย , การศึกษาลักษณะทางเคมีและกระจายของรากแฝกหอมในท้องตลาด.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่3.ฉบับที่3.กันยายน-ธันวาคม.2548
  4. ดร.นิจศิริ เรืองรังสี.ธวัชชัย มังคละคุปต์”แฝก(Faek)หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม1.หน้า188.
  5. ดรุณ เพ็ชรพลาย.สมุนไพรรากแฝกหอม.ว.กรมวิทย.พ.2531;30(4):275-81.
  6.  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.
  7. ฤทธิ์ต้านเบาหวานของแฝกหอม.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  8. พีรศักดิ์  วรสุนทโรสถ,สุนทร ดุริยะประพันธ์,ทักษิณ อาชวาคม,สายันต์ ตันพานิช,ชลธิชา นิวาสประกฤติ,ปรียานันท์  ศรสูงเนิน.ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำดับที่ 19 พืชที่ให้น้ำมันหอม.นนทบุรี.สหมิตรพริ้นติ้ง,2544;236-44.
  9. วีระชัย  ณ  นคร.หญ้าแฝกหอม Vetiveria zizanioides Nash (2) เอกสารเผยแพร่หอพรรณไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้.กรุงเทพมหานคร:2535;1-22.
  10. แฝกหอม.ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=89