ชะพลู
  ชื่อสามัญภาษาไทยชะพลู
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษWildbetal leafbush
  ชื่อวิทยาศาสตร์Piper sarmentosum Roxb.
  ชื่อวงศ์Piperaceae
  ชื่อท้องถิ่นผักพลูนก พลูลิง ปูลิง ปูลิงนก ผักปูนา (ภาคเหนือ), ผักแค ผักอีเลิด ผักนางเลิด (ภาคอีสาน), ช้าพลู (ภาคกลาง), นมวา (ภาคใต้)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ลำต้นชะพลู ลำต้นมีลักษณะตั่งตรง สูงประมาณ 30-50 ซม. สีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปม แตกกอออกเป็นพุ่ม เติบโตได้ดีในพื้นที่ดินชุ่ม

    ใบชะพลู ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวแก่ ก้านใบยาว 1-3 ซม. ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจ ใบกว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ผิวมันออกมัน แทงใบออก 2 ใบตรงข้ามกัน มีเส้นใบประมาณ 7 เส้น แทงออกจากฐานใบ

    ดอกชะพลู ดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะออกสีเขียว รูปทรงกระบอก แทงดอกบริเวณปลายยอด และช่อใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกเป็นดอกแยกเพศ

    ผลชะพลู ผลเจริญบนช่อดอก มีลักษณะเป็นผลสีเขียว ผิวมัน มีลักษณะกลมเล็กฝังตัวในช่อดอกหลายเมล็ด มักออกดอกมากในฤดูฝน

สรรพคุณทั่วไป

  • สามารถช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยขับเสมหะ ทำเสมหะให้งวด ทำให้เลือดลมซ่าน
  • แก้ธาตุพิการ รักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี
  • แก้ศอเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง
  • ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก
  • ช่วยบำรุงธาตุ แก้เบาเหลือง ขัดเบา ปวดเอ็น แก้ปวดท้องแน่นจุกเสียด
  • แก้ไข้ดีซ่าน ดีกระตุก บำรุงน้ำดี รักษาโรคบิด ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
  • ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. www.rspg.or.th
  2. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
  3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  4. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี