กระถิน
  ชื่อสามัญภาษาไทยกระถิน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษWhite popinac, Lead tree, Horse tamarind, Leucaena, lpil-lpil
  ชื่อวิทยาศาสตร์Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit
  ชื่อวงศ์Leguminosae
  ชื่อท้องถิ่นกะเส็ดโคก กะเส็ดบก (ราชบุรี), กะตง กระถิน กระถินน้อย กระถินบ้าน ผักก้านถิน (สมุทรสงคราม), ผักก้านถิน (เชียงใหม่), ผักหนองบก (ภาคเหนือ), กระถินไทย กระถินบ้าน กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก (ภาคกลาง), ตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน (ภาคใต้), กระถินยักษ์
 
 
สรรพคุณทั่วไป

  • ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก,เมล็ดแก่) 
  • กระถินมีฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูก (ยอดอ่อน, ฝักอ่อน, เมล็ด) 
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ยอดอ่อน)
  • ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ยอดอ่อน)
  • กระถินอุดมไปด้วยวิตามินเอ จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้ (ยอดอ่อน)
  • ช่วยบำรุงหัวใจ (ฝักอ่อน, ยอดอ่อน)
  • ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (เมล็ดแก่)
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ฝักอ่อน, ยอดอ่อน)
  • ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ฝักอ่อน, ยอดอ่อน)
  • ช่วยแก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา (ดอก)
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ฝัก)
  • เมล็ดกระถินใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม (Ascariasis) สำหรับผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม ส่วนเด็กให้ใช้ 5-20 กรัมต่อวัน โดยใช้รับประทานขณะท้องว่างในตอนเช้าประมาณ 3-5 วัน (เมล็ด)
  • ช่วยขับลมในลำไส้ (ราก, เมล็ดแก่)
  • ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ราก, เมล็ดแก่)
  • ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร (ยอดอ่อน, ฝักอ่อน, เมล็ด)
  • ดอกกระถินช่วยบำรุงตับ (ดอก)
  • ช่วยบำรุงไตและตับ (เมล็ดแก่)
  • ฝักกระถินเป็นยาฝาดสมาน ใช้ห้ามเลือด (ฝัก, เปลือก)

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “กระถินไทย“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.  [23 พ.ย. 2013]. 
  • ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “กระถิน“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th.  [23 พ.ย. 2013]. 
  • ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).  “กระถิน“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th.  [23 พ.ย. 2013]. 
  • สถาบันการแพทย์แผนไทย.  “กระถิน“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th.  [23 พ.ย. 2013]. เดลินิวส์.  “กระถินกินมีประโยชน์“.  (06/12/55).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.dailynews.co.th.  [23 พ.ย. 2013]. 
  • GotoKnow.  “พืชผักสมุนไพรใกล้ครัว: กระถิน“.  (ครูนาย).  อ้างอิงใน: สถาบันวิจัยสมุนไพรไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (นฤมล มงคลชัยภักดิ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.gotoknow.org.  [23 พ.ย. 2013]. 
  • เว็บสำหรับคนรักอาหาร.  “กระถิน“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.siammoo.com.  [23 พ.ย. 2013]. 
  • พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.  “กระถินบ้าน“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: qsds.go.th.  [23 พ.ย. 2013].