เผือก
  ชื่อสามัญภาษาไทยเผือก
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษTaro
  ชื่อวิทยาศาสตร์Colocasia esculenta (L.) Schott
  ชื่อวงศ์Araceae
  ชื่อท้องถิ่นเผือกหอม (ชนิดหัวใหญ่ แต่ละหัวมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม และมีหัวเล็กติดอยู่กับหัวใหญ่เล็กน้อย ใช้ต้มรับประทานได้ มีกลิ่นหอม ส่วนกาบใบเป็นสีเขียว มีขนาดใหญ่), เผือกเหลือง (หัวสีเหลืองขนาดย่อม), เผือกไม้ หรือ เผือกไหหลำ (หัวมีขนาดเล็ก) และเผือกตาแดง (ตาของหัวเป็นสีแดงเข้ม มีหัวเล็กล้อมรอบหัวใหญ่เป็นกลุ่มจำนวนมาก กาบใบและเส้นใบเป็นสีแดง)
 
 
สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (หัว)
  • ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการใช้หัวเผือก 100 กรัม นำมาต้มใส่กับข้าวสวย 100 กรัม แล้วต้มให้เป็นโจ๊ก ใช้รับประทาน (หัว)
  • ใช้เป็นยาลดไข้ ด้วยการใช้หัวเผือก 100 กรัม นำมาต้มใส่กับข้าวสวย 100 กรัม ต้มให้เป็นโจ๊ก ใช้รับประทานจะช่วยทำให้ฟื้นไข้ได้เร็วขึ้น (หัว)
  • เผือกมีธาตุเหล็กและฟลูออไรด์สูง จึงช่วยป้องกันฟันผุ ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงได้ (หัว)
  • เผือกเป็นอาหารที่ช่วยบำรุงลำไส้และแก้อาการท้องเสียได้ด้วย (หัว)
  • ช่วยบำรุงไต (หัว)
  • ใช้เป็นยาทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้หัวเผือกสดนำมาโขลกให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันงาแล้วคลุกจนเข้ากัน แล้วนำมาใช้ทา (หัว)
  • น้ำยางใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (น้ำยาง)
  • ใช้รักษาโรคเรื้อนกวาง ด้วยการใช้ต้นกระเทียม 100 กรัม นำมาโขลกกับเผือกสดอีก 100 กรัม โดยโขลกให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นเรื้อนกวาง จะช่วยทำให้อาการดีขึ้น (หัว)
  • ช่วยแก้อาการอักเสบ ระงับอาการปวด (หัว)
  • หากมีอาการปวดเมื่อย ปวดเมื่อยเส้นเอ็น ปวดกระดูก ให้นำหัวเผือกสดมาโขลกให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันงา คลุกจนเข้ากัน ใช้เป็นยาทาบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย (หัว)


 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • กลุ่มสื่อส่งเสริมเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร.  “อาหารจากเผือก”.
  • โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.  “เผือก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: kanchanapisek.or.th/kp6/.  [31 มี.ค. 2014].
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์.  “เผือก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th.  [31 มี.ค. 2014].
  • โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน).  “เผือก”.  อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ (สมพร ภูติยานันต์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [31 มี.ค. 2014].
  • Food for Health – อาหารเพื่อสุขภาพ, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “สมุนไพรจีนและอาหารจีน”.  (วงศ์ตะวัน เอื้อธีรศรัณย์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: pirun.ku.ac.th/~b5310850368/.  [31 มี.ค. 2014].
  • https://medthai.com/เผือก/