เทียนหยด
  ชื่อสามัญภาษาไทยเทียนหยด
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษDuranta, Golden Dewdrop, Crepping Sky Flower, Pigeon Berry
  ชื่อวิทยาศาสตร์Duranta erecta L.
  ชื่อพ้องDuranta repens L.
  ชื่อวงศ์Verbenaceae
  ชื่อท้องถิ่นสาวบ่อลด (เชียงใหม่), เครือออน (แพร่), พวงม่วง ฟองสมุทร เทียนไข เทียนหยด (กรุงเทพฯ), เอี่ยฉึ่ง (จีน)
 
 
สรรพคุณทั่วไป

  • เมล็ดใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้เมล็ดแก่ที่แห้งแล้วประมาณ 15-20 เมล็ด นำมาตำหรือบดให้เป็นผงผสมรับประทานก่อนที่จะเป็นไข้ประมาณ 2 ชั่วโมง (เมล็ดแห้ง)
  • เมล็ดแห้งใช้เป็นยาเร่งคลอด ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 15-20 เมล็ด นำมาตำหรือบดให้เป็นผงผสมรับประทาน (เมล็ดแห้ง)
  • ใบสดมีรสชุ่ม มีกลิ่นฉุน ใช้ตำพอกเป็นยาห้ามเลือด (ใบสด)
  • ใช้เป็นยาแก้ฝีผักบัว แก้หนอง แก้อักเสบ แก้บวม ด้วยการใช้ใบสดในปริมาณพอสมควร นำมาตำผสมกับน้ำตาลทราย แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ใบสด)
  • ใช้รักษาปลายเท้าเป็นห้อเลือด บวมอักเสบ และเป็นหนอง ด้วยการใช้ใบสดปริมาณพอสมควร นำมาตำผสมกับน้ำตาลทรายแดง 15 กรัม แล้วปั้นเป็นก้อน ลนด้วยไฟอุ่น ๆ ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผล (ใบสด)
  • หากมีอาการปวดหน้าอก หกล้มหรือถูกกระแทก ให้ใช้เมล็ดประมาณ 15 กรัม นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้ากิน (เมล็ด)

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “ฟองสมุทร”.  หน้า 579-580.
  • ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “เทียนหยด”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/.   [08 พ.ย. 2014].
  • ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  (นพพล เกตุประสาท).  “ฟองสมุทร”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : clgc.rdi.ku.ac.th.  [08 พ.ย. 2014].
  • ฐานข้อมูลพืชพิษ, ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.  “ฟองสมุทร (เทียนหยด)”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : webdb.dmsc.moph.go.th/poison/.  [08 พ.ย. 2014]. 
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 332 คอลัมน์ : ต้นไม้ใบหญ้า.  (เดชา ศิริภัทร).  “เทียนหยด :ไม้ประดับที่ผลงดงามกว่าดอก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  www.doctor.or.th.  [08 พ.ย. 2014].
  • https://medthai.com/เทียนหยด/