มะแว้งต้น
  ชื่อสามัญภาษาไทยมะแว้งต้น
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSparrow’s Brinjal
  ชื่อวิทยาศาสตร์Solanum indicum L.
  ชื่อพ้องSolanum indicum var. maroanum Bitte, Solanum indicum var. lividum (Link) Bitter, Solanum anguivi Lam., Solanum lividum
  ชื่อวงศ์Solanaceae
  ชื่อท้องถิ่นมะแคว้งดำ (ภาคเหนือ) แว้งคม (สงขลา, สุราษฎร์ธานี) สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากแฮ้งคง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะแว้งต้นเป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล ยอดอ่อนและต้นอ่อนมีขนสีขาว 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบหยักเว้า แผ่นใบสีเขียว มีขนนุ่ม ก้านใบยาว 

ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อยมี 5-10 ดอก ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉกแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นรูปกรวย 

ผล รูปทรงกลม ขนาด 1 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวไม่มีลา


สรรพคุณทั่วไป

  • ราก - แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา ทั้งต้น - แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา 
  • ใบ - บำรุงธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ 
  • ผล - บำรุงน้ำดี รักษาโรคเบาหวาน แก้ไอ แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้คอแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางไต และกระเพาะปัสสาวะ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ไอ และแก้โรคหอบหืด ใช้มะแว้งต้น ผลแก่ ในเด็ก ใช้ 2-3 ผล ใช้เป็นน้ำกระสายยา กวาดแก้ไอ ขับเสมหะ ผู้ใหญ่ ใช้ 10-20 ผล รับประทาน เคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ รับประทานบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น 
  • ใช้ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ใช้มะแว้งต้นโตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 45.