|
ชื่อสามัญภาษาไทย | ไพลดำ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Zingiber ottensii Valeton |
ชื่อวงศ์ | Zingiberaceae |
ชื่อท้องถิ่น | ปูเลยดำ (ภาคเหนือ), ไพลดำ ไพลม่วง ไพลสีม่วง (กรุงเทพฯ), ไพลสีม่วง ดากเงาะ (ปัตตานี), จะเงาะ (มลายู-ปัตตานี), ว่านกระทือดำ |
ไพลดำเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นใต้ดิน สูงได้ถึง 5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีอายุหลายปี เนื้อในเป็นสีม่วง หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบหนา รูปขอบขนาน ปลายใบเรียว โคนใบมน ขอบใบเรียบ กว้าง 6-8 เซนติเมตร ยาว 26-30 เซนติเมตร เส้นกลางใบเป็นร่องสีเขียวอ่อน ด้านล่างและเส้นกลางใบมีขน ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น มีสีม่วงคล้ำ กาบใบซ้อนกันแน่น ไม่มีขนหรือมีประปราย ลิ้นใบยาวที่ปลายกาบใบ รูปไข่ ปลายมน ดอกออกเป็นช่อ จากโคนต้นแทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ก้านช่อดอกยาวประมาณ 14 เซนติเมตร ช่อดอกยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกถึงเกือบกลม กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน สีเหลืองอ่อน มีประสีม่วงแดงอ่อนๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ บาง โคนดอกเชื่อมติดกัน มีใบประดับสีเขียวปนแดงวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ อย่างเป็นระเบียบคล้ายเกล็ดปลา ใบประดับเมื่อยังอ่อนมีสีแดงอมเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือแดงเข้ม กลีบเลี้ยง เชื่อมติดกันเป็นหลอดสีใส เกสรเพศผู้ ส่วนที่เป็นกลีบมี 3 หยัก หยักข้างมี 2 หยักสั้น รูปไข่ ปลายมน สีเหลืองอ่อน หยักกลางหรือกลีบปากใหญ่ รูปกลมแกมขอบขนาน ปลายแยก 2 หยักตื้น พื้นสีเหลืองแกมน้ำตาลอ่อน ประสีน้ำตาลแดงแกมชมพูอ่อน เกสรเพศผู้ปลายเป็นจงอยยาวโค้ง สีเหลืองส้ม เกสรเพศเมีย ก้านเกสรยาว สีขาว ยอดเกสรรูปคล้ายกรวย สีขาว รอบ ๆ ปากมีขน รังไข่สีขาว ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปทรงกระบอก สีแดง มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบตามป่าเขตร้อนชื้น ออกดอกราวเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ติดผลราวเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ไพลดำนี้มีความเชื่อว่าเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี | |
| |
ตำรายาไทย
| |
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านไพลดำ”. หน้า 725-726. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ว่านไพลดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [21 ส.ค. 2014]. ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่านไพลดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [21 ส.ค. 2014]. |