|
ชื่อสามัญภาษาไทย | เสลาหนู |
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ | Thai bungor |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn. |
ชื่อพ้อง | ต้นอินทราชิต |
ชื่อวงศ์ | Annonaceae |
ชื่อท้องถิ่น | เกรียบ ตะเกรียบ (chong-จันทบุุรี) ตะแบกขน (นครราชสีมา) อินทรชิต (ปราจีนบุรี) เสลาใบใหญ่ (ประจวบคีรีขันธ์, สระบุรี) |
ต้นเสลา เป็นต้นไม้ที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร และเป็นไม้ผลัดใบมีเรือนยอดเป็นพุ่มแน่น กิ่งห้อยย้อย ลำต้นกลม แข็งแรงในระดับหนึ่ง เปลือกมีสีเทาแกมดำ มีรอยแตกเป็นริ้วยาวตลอดลำต้น ใบ ต้นเสลามีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม ใบมีรูปขอบขนาน ขนาดความกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาว 16-25 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียว ผิวใบมีขนปุยอ่อนนุ่มปกคลุมอยู่ทั่ว ทั้ง 2 ด้าน ผล ต้นเสลามีผลรูปทรงกลม ยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผิวนอกผลแข็ง ผลมีสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกจะมีสีน้ำตาล และเมื่อผลแห้งจะแตกออก ภายในผลมีเมล็ดอยู่จำนวนมาก เมล็ดแบนมีสีน้ำตาลอมเหลือง ต้นเสนาจะติดผลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ต้นเสลา สามารถพบเจอได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าชายหาด และป่าดิบ โดยพบส่วนใหญ่ทางภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ไปจนจึงภาคใต้ของประเทศไทย | |
| |
https://kaset.today/พันธุ์ไม้/ต้นเสลา/ |